ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้(3 มิ.ย.64)ว่า กรุงเทพมหานคร(กทม.)มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 995 ราย(ไม่รวมเรือนจำ) โดยในพื้นที่กทม.มีคลัสเตอร์โควิดที่ต้องเฝ้าระวัง 50 แห่ง และพบใหม่ 2 แห่ง
50 คลัสเตอร์โควิด"กทม." ที่ต้องเฝ้าระวัง
สำหรับในกรุงเทพมหานคร มี 50 คลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
ที่มา : ศูนย์ข้อมูล COVID-19
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า ในการประชุมของศูนย์บูรณาการโควิด-19 ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้นำเอาคลัสเตอร์ต่างๆมาจำแนกแยกแยะ วางแผนถึงการทำงานในแต่ละเขต มีภาพสะท้อนของทางสื่อว่า ขอให้ลงรายละเอียด โดยสรุปมาจากที่ประชุม โดยสำนักอนามัยกรุงเทพมหานครได้ชี้แจงในที่ประชุม ซึ่งมีข้อมูลเยอะมาก ขอให้เห็นภาพนี้ เพื่อสื่อมวลชนจะได้นำไปขยายต่อ ไม่มีการปิดบังพื้นที่ ชื่อเฉพาะใดๆ ที่ผ่านมาอาจจะมีระบุว่า แห่งหนึ่ง ในวันนี้ขอนำเรียนลงไปในรายละเอียด ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อ จะปรากฏอยู่ในตารางนี้
"แม้มีการระบุชื่อเฉพาะของสถานที่ แต่เชื้อโรคไม่ได้อยู่กับสถานที่ แต่อยู่ในตัวบุคคล เพราะฉะนั้นถ้าคนไปอีกที่ก็จะไปแพร่เชื้ออีกที่ได้ การระบุสถานที่เพื่อให้รู้ว่ามีความชุกของผู้ติดเชื้อ ไม่ใช่สถานที่นั้นไม่ปลอดภัย แต่การบอกสถานที่เป็นการให้รู้ว่าพื้นที่นั้นมีการระบาดของโรคอยู่ เพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนในระแวกนั้น "นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
การระบาดเป็นกลุ่มก้อนในต่างจังหวัด
ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่พบการระบาดติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนใหม่ คือ จ.เพชรบุรี พื้นที่เขาย้อย โรงงานรองเท้า ติดเชื้อแล้ว 20 คน จ.สมุทรปราการ พื้นที่พระสมุทรเจดีย์ โรงงานอะลูมิเนียม พบติดเชื้อแล้ว 64 ราย และจ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ อ.เมืองฉะเชิงเทราและบางน้ำเปรี้ยว บริษัทผลิตอุปกรณ์ทันตกรรม พบติดเชื้อแล้ว 6 ราย
"มีการวิเคราะห์ข้อมูลและความกังวลจากกรมควบคุมโรคว่าพบรายงานการติดเชื้อในโรงงานผลิตอุปกรณ์การแพทย์ขึ้นมา เพราะเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ป้องกันโรค เพราะฉะนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดต้องคุมเข้มโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะต้องป้องกันไม่ให้หงุดชะงักการผลิต เพราะจะมีผลต่อการควบคุมโรคด้วย"นพ.ทวีศิลป์กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การสั่งปิดโรงงานไม่ได้ทำให้การแพร่ระบาดหมดไป แต่ผู้ประกอบการสามารถใช้มาตรการ Buble and seal ที่เคยใช้แก้ปัญหามาแล้วที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะสินค้าบางอย่างหากขาดแคลนอาจส่งผลกระทบต่อการแพทย์ได้ เช่น ถุงมือยาง อุปกรณ์ทันตกรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง