เมื่อต้องไป"ตลาด"ยุคโควิด มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร เช็กที่นี่

03 มิ.ย. 2564 | 20:00 น.
อัปเดตล่าสุด :03 มิ.ย. 2564 | 23:32 น.

เมื่อต้องไป"ตลาด"ยุคโควิด กรมควบคุมโรค จัดทำข้อควรปฏิบัติ สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ใช้บริการในตลาด

"ตลาด" หนึ่งในคลัสเตอร์โควิด-19 ที่ยังพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศบค.) เผยข้อมูล ณ วันที่ 3 มิ.ย.64 กรุงเทพมหานคร มีคลัสเตอร์โควิด ที่ต้องเฝ้าระวังถึง 50 แห่ง ในจำนวนนี้ เป็นคลัสเตอร์ตลาดถึง 10 แห่ง แยกเป็นตลาดในกลุ่มเฝ้าระวังสุดสูง 8 แห่ง และตลาดในกลุ่มเฝ้าระวัง 2 แห่ง

อย่างไรก็ตาม "ตลาด"ยังเป็นแหล่งจับจ่าย ซื้อหาสินค้า โดยเฉพาะอาหาร ของสด ของอีกหลายคน เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องไปตลาด มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร

กรมควบคุมโรค ได้จัดทำอินโฟกราฟฟิก ข้อควรปฏิบัติ สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ใช้บริการใน"ตลาด" ดังนี้

  • เลือกตลาดที่สะอาด อากาศถ่ายเท
  • วางแผนการซื้ออาหารหรือสินค้า
  • ใช้เวลาในการเดินตลาดให้น้อยที่สุด
  • เข้า-ออก ตามจุดที่กำหนด
  • ผ่านการคัดกรองและสแกนไทยชนะทุกครั้ง
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • เลือกชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นแทนเงินสด
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลหลังใช้บริการ
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารของตลาดเป็นประจำ หากพบการระบาดควรงดใช้บริการ

เมื่อต้องไป\"ตลาด\"ยุคโควิด มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร เช็กที่นี่

ข้อควรปฏิบัติ สำหรับผู้ประกอบการในการดูแลตลาดสด

  • ให้ผู้ประกอบการตลาด ปฏิบัติตามมาตรการควบคุม กำกับ ดูแลตลาดฯโดยเคร่งครัด
  • เจ้าของตลาด จัดทำแผนผังของแผงค้า ทะเบียนข้อมูลผู้ค้าและแรงงานตามกฏหมาย
  • ทดสอบระบบการระบายอากาศในตลาด และแก้ไขตามความเหมาะสม
  • ทำแบบประเมินตนเองด้านสุขลักษณะตามฏกกระทรวง

เมื่อต้องไป\"ตลาด\"ยุคโควิด มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร เช็กที่นี่

ก่อนหน้านี้ กรมอนามัย เปิด 8 มาตรการ คุมตลาดสดพื้นที่สีแดงเข้ม

1.ผู้ประกอบการตลาดต้องประเมินตนเองผ่าน Thai Stop COVID Plus และผู้ค้าหรือลูกจ้างต้องประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่านเว็บไซต์ “ไทยเซฟไทย” ซึ่งจากข้อมูลการประเมินตนเองของผู้ประกอบการผ่าน Thai Stop COVID Plus พบว่า มีตลาดที่ลงทะเบียนจำนวน ทั้งสิ้น 3,465 แห่ง ผ่านการประเมิน 2,779 แห่ง ไม่ผ่าน 686 แห่ง โดยมาตรการที่ยังดำเนินการได้น้อย คือ การลงทะเบียบเข้า – ออก การควบคุมจำนวนผู้มาซื้อของ และไม่มีการคัดกรองลูกค้า 

2.จัดทำทะเบียนแผงค้า ผู้ค้า ผู้ช่วยขายของ และแรงงานต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในตลาด เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการควบคุม กำกับ ติดตาม 

3.จัดทำทะเบียนรถเร่จำหน่ายอาหารที่มาซื้อสินค้าในตลาดเพื่อนำไปขายต่อ 

4.เพิ่มมาตรการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อลดการสัมผัส 

5.กรณีพบผู้ค้า ผู้ช่วยขายของ และแรงงานต่างด้าวป่วย ให้หยุดขาย และแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ทันที

6.ปิดตลาดชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการที่จังหวัดกำหนด 

7.หากตลาดเปิดทำการให้มีการสลับแผงค้าให้เหมาะสม เพื่อลดความหนาแน่นของแผงค้าและจำนวนคน เข้มงวดคัดกรองผู้ค้าและผู้ช่วยขายของ ให้มั่นใจว่าไม่ไปสัมผัสกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการเจ็บป่วยหรืออาจมีผลตรวจยืนยัน  

8.ให้ตลาดปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ และเน้นการรักษาความสะอาดอย่างเข้มข้น

กทม. 50 เขตมีตลาดเกือบ 500 แห่ง

ศบค.ได้เผยข้อมูลตลาดในพื้นที่กทม.(แยกตามกลุ่มเขต) ดังนี้

  • กรุงเทพกลาง จำนวน 10 เขต มีตลาด 58 แห่ง
  • กรุงเทพเหนือ จำนวน 7 เขต มีตลาด 74 แห่ง
  • กรุงเทพใต้ จำนวน 10  เขต มีตลาด 62 แห่ง
  • กรุงเทพตะวันออก จำนวน 8 เขต มีตลาด 106 แห่ง
  • กรุงธนเหนือ จำนวน 8 เขต มีตลาด 104 แห่ง
  • กรุงธนใต้ จำนวน 7 เขต มีตลาด 92 แห่ง

รวม 50 เขต มีจำนวนตลาด 486 แห่ง

เมื่อต้องไป\"ตลาด\"ยุคโควิด มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร เช็กที่นี่

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 

          ศูนย์ข้อมูล COVID-19

          กรมอนามัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง