จากกรณีที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับ การเปิดเทอม หรือ เปิดภาคเรียน 1/2564 ที่ ศบค.ชุดเล็กได้มีมติ วันที่ 10 มิ.ย. 64 ก่อนที่จะมีการเปิดเทอมจริงในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งในมติศบค.ชุดเล็ก ยังคงยืนยันตามประกาศเดิมของศบค.ชุดใหญ่ ในการคุมเข้มมาตรการเป็นพิเศษ สำหรับจังหวัดใน “พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” หรือ สีแดงเข้ม จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ
ที่มีข้อกำหนดว่าไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่บริเวณโรงเรียนหรือสถานศึกษา ทำการเรียนการสอน แต่ให้จัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ คือ
ขณะเดียวกัน ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่ามีการเตรียม “แผนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” โดยให้เตรียมความพร้อม ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม - 13 มิถุนายน 2564 โดยพบข้อมูลว่า โรงเรียนสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลผู้เรียนทุกคนเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
1. กลุ่มผู้เรียนที่มีความพร้อมในการเรียนออนไลน์และกลุ่มที่ไม่พร้อมเรียนออนไลน์ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ผู้เรียนทุกคนด้วยกระบวนการ 4 ON
2. ครูผู้สอนจัดทํา จัดหา คัดเลือกสื่อการเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ แล้วนํามาออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการ 4 ON คือ Online On-Air On Hand และ On School Line
3. ปรับปรุงช่องทางการสื่อสารกับผู้เรียนและผู้ปกครอง เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทั่วถึง ได้แก่ เว็บไซต์โรงเรียน อีเมล์ แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Facebook Messenger Line รวมถึงทางโทรศัพท์ หรือจดหมาย
4. วางแผนการออกเยี่ยมบ้านในกรณีจําเป็น เช่น เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ IT เป็นต้น
ซึ่ง นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา ให้นโยบายในการวางแผนประเมินตนเองก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สำหรับบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนในกทม. ว่า การเปิดภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานใน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีโอกาสใกล้ชิดกับนักเรียน และบุคลากรของโรงเรียน การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยและสร้างความ เชื่อมั่นให้ผู้ปกครอง
สํานักการศึกษาจึงขอความร่วมมือ สํานักงานเขต กําชับผู้บริหารสถานศึกษาวางแผนการประเมิน ตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจน บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน เฝ้าระวังตนเองไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน
ด้าน พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยว่า ที่ประชุมศบค.ชุดเล็กมีการหารือถึงการเปิดเทอม ในส่วนกรุงเทพฯว่า ได้เพิ่มช่องทาง On school Line หรือมีกลุ่มไลน์แต่ละห้องเรียนหรือรายวิชา
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ศบค.ยังพูดคุยถึงการเตรียมความพร้อมบุคลากร โดยเกือบ 60 % ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หากบุคลากรต้องข้ามพื้นที่จากต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯขอให้ทุกคนสำรวจความเสี่ยงของตัวเองและสังเกตอาการ ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้กักตัว 14 วัน ก่อนติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น และสถานศึกษาต้องเอาใจใส่บุตรหลานที่จะเดินทางไปเรียนด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :