16 มิถุนายน 2564 หลังเวลา 18.00 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ศบค. ประกาศอย่างชัดเจน ว่า ประเทศไทยจะต้อง "เปิดประเทศ" ทั้งประเทศให้ได้ภายใน 120 วัน นับจากวันนี้ ส่วนเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญๆ หากพร้อมได้เร็วกว่า ก็ควรทยอยเปิดให้ได้เร็วกว่านั้น นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดส เรียบร้อยแล้ว ควรเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องกักตัว และไม่ต้องมีเงื่อนไขข้อห้ามที่สร้างความยากลำบาก รวมทั้งคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ หากเป็นคนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ก็ควรที่จะสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศของตัวเองได้ โดยไม่ต้องกักตัวเช่นเดียวกัน
ต่อกรณีดังกล่าวได้มีเสียงวิพากวิจารณ์ออกมามากมายในแง่มุมต่างๆ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงอย่างบุคลลากรทางการแพทย์ ซึ่งออกมามีปฏิกิริยาตอบสนองนโยบายดังกล่าวในทิศทางเดียวกัน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่าฃ
120 ตัวเลขดัง 50 ล้าน 2 เข็ม
อัลฟา เดลต้า เบต้า
โรงพยาบาล อะฮ้า
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (นิธิพัฒน์ เจียรกุล) โดยมีข้อความส่วนหนึ่งระบุ ว่า หลงดีใจได้สามวันติดกัน ที่ตัวเลขผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตเป็น 10+ แต่วันนี้หน้าหงายเมื่อดีดกลับไปที่ 40+ หวังลึกๆ ให้เป็นการกระเด้งดีดกลับทางเทคนิคเหมือนดัชนีตลาดหุ้น กลัวแต่ว่ามันจะลุกลามต่อไปเป็นการระบาดรอบใหม่ เนื่องจากยอดผู้ป่วยในเขตกทม.และปริมณฑลไม่ยอมลดต่อ แถมยอดผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่เติมเข้ามาในรพ.หลักกลับมาเพิ่มใหม่หลังดีใจได้ไม่กี่วัน ส่วนตัวแล้วคิดว่าอาจเป็นจาก
1.มีการระบาดของเชื้อสายพันธุ์อินเดีย เนื่องจากเชื้อสายพันธุ์ที่เข้ามาใหม่จะแสดงความรุนแรงทั้งในการแพร่กระจายง่ายและรุนแรงในแง่ของการเจ็บป่วย
2.การควบคุมการแพร่กระจายในกลุ่มแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายยังทำไม่ได้ดีพอ ส่งผลให้มีการลุกลามออกมาสู่ชุมชนคนไทยรอบข้าง กลุ่มก้อนนี้คงไม่สามารถจัดการได้ด้วยระบบปฏิบัติการปกติ เนื่องจากอยู่นอกเหนืออำนาจของหน่วยงานเฉพาะต่างๆ ที่มีอยู่ แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายนี้น่าจะแทรกซึมเป็นวงกว้าง ตั้งแต่งานบริการในครัวเรือน กิจการขนาดเล็ก ไปจนถึงสถานประกอบการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดยิ่งใหญ่ หลายคนมองไปถึงการบริหารจัดการแบบสมุทรสาครโมเดล แต่ในครั้งนั้นมีการบูรณาการดำเนินงานทั้งจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกจังหวัด รวมถึงงบประมาณในการดำเนินการที่เพียงพอเพราะไม่มีการระบาดในจังหวัดอื่นมากนัก มาถึงตรงนี้แล้ว อาจต้องพึ่งอำนาจพิเศษหรือมือที่มองไม่เห็น เพราะหากไม่รีบดำเนินการตัดตอนเรื่องนี้ให้ดี เกรงว่าวิกฤตโควิดระลอกสี่จะหนีไม่พ้น
ที่น่ากลัวคูณสองหรือมากกว่านั้น คือปัญหาข้อ1. และข้อ 2. มีการเชื่อมโยงกัน !!! ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงการผ่อนผันมาตรการควบคุมโรคในกทม.ที่เพิ่งประกาศไปโดยไม่บอกถึงรายละเอียดมาตรการกำกับดูแลให้เป็นจริง หรือมาตรการเปิดประเทศใน 120 วันที่เพิ่งประกาศวันนี้โดยหวังจะใช้แต่วัคซีนเป็นคำตอบสุดท้าย ทำให้เสียวสันหลังวาบอยู่พิกล
พร้อมกันนี้หมอนิธิพัฒน์ ยังติดแฮชแท็กด้วยว่า #ชักกังวลว่าอาจจะมีวิกฤตโควิดระลอกสี่
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
บทเรียนของประเทศที่เปิดได้นั้น มักต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้อย่างครบถ้วนก่อน
หนึ่ง คุมการระบาดได้อย่างดี...คุมไม่ใช่ไล่ตาม คุมได้ไม่ใช่ติดหลายพันคงที่อย่างต่อเนื่อง
สอง ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย
สาม ระบบการตรวจคัดกรองโรคมีศักยภาพ ทำได้มาก ต่อเนื่อง ครอบคลุม คนสามารถเข้ารับการตรวจได้ง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย
สี่ ใช้ความรู้วิชาการที่ถูกต้องเพื่อสร้างนโยบายต่างๆ
หลายแสนที่ติด...พันกว่าชีวิตที่สูญเสีย...โปรดทบทวนเถิดครับ เพื่อไม่ให้เจอกับภาวะที่มากกว่านี้ในอนาคต
ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19)ในประเทศไทยวันที่ 17 มิถุนายน 64 จากรายงานของศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
มีผู้ติดเชื้อใหม่ 3,129 ราย
สะสมระลอกที่สาม 178,861 ราย
สะสมทั้งหมด 207,724 ราย
หายป่วยกลับบ้านได้ 4,651 ราย
สะสม 144,890 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 30 ราย
สะสมระลอกที่สาม 1,461 ราย
สะสมทั้งหมด 1,555 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :