6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

17 มิ.ย. 2564 | 10:59 น.

Facebook  แนะ 6 เคล็ดลับ เพื่อความปลอดภัยและรับมือกับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด-19 

ในขณะที่ประเทศไทยยังคงรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่และเร่งดำเนินการเพื่อให้ผู้คนได้รับการฉีดวัคซีน Facebook ตระหนักว่าผู้คนหันมาใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้นกว่าที่เคยเพื่อติดต่อและแชร์ข้อมูลกับครอบครัวและเพื่อนของพวกเขาในช่วงเวลานี้ ดังนั้น การสนับสนุนคนไทยในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง ในขณะที่พวกเขากำลังก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่สามนี้ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่ผ่านมา

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

Facebook มุ่งมั่นทำงานเพื่อให้คนไทยสามารถได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง ปัจจุบันเราได้ช่วยให้ผู้คนกว่า 2 พันล้านคนจาก 189 ประเทศทั่วโลกเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข ซึ่งรวมถึง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านศูนย์ข้อมูลโควิด-19 บน Facebook นอกจากนี้ Facebook ได้ลบเนื้อหาที่มีข้อมูลเท็จที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับโควิด-19 และวัคซีนที่ได้รับการรับรองกว่า 12 ล้านรายการบนแพลตฟอร์มภายในเครือ อีกทั้งยังติดป้ายเตือนบนโพสต์จำนวนกว่า 167 ล้านรายการ ซึ่งได้รับการตรวจสอบว่ามีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องโดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายนอกองค์กร

ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน Messenger กว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลก และจำนวนผู้ใช้งาน Facebook เป็นประจำทุกเดือนกว่า 60 ล้านคนในประเทศไทย Facebook ประเทศไทย เปิดตัว “แชทชัวร์” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ HBot มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโควิด-19 และวัคซีนที่อัพเดทและเชื่อถือได้แก่ประชาชน โดยพร้อมให้บริการแล้วที่ Social Marketing ThaiHealth by สสส Facebook Page

Facebook ยังได้สนับสนุนข้อมูลแบบเรียลไทม์ รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ให้กับหน่วยงานกว่า 450 หน่วยงานในกว่า 70 ประเทศ เพื่อช่วยให้หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย และนักวิจัยด้านสุขภาพ สามารถเข้าถึงและวิเคราะห์คาดการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านผลการศึกษาที่มีชื่อว่า Data for Good Symptom Survey ซึ่งรวมถึงผลสำรวจจากผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยกว่า 2 ล้านคนนับตั้งแต่การเปิดตัวการศึกษาออนไลน์ดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา จากผลสำรวจล่าสุด ระบุว่าร้อยละ 75.68 ของคนไทยตั้งใจที่จะฉีดวัคซีน หากตัวเองได้รับการเสนอวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้

ในขณะนี้ Facebook ได้จัดแคมเปญระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่เชื่อถือได้ ด้วยการช่วยให้ผู้คนค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ในการรับวัคซีน และช่วยเหลือผู้คนในการตรวจจับและลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้คนในชุมชนของพวกเขา

Facebook ได้รวบรวมเคล็ดลับเพิ่มเติม 6 ข้อ เพื่อช่วยให้คนไทยได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง และรับมือกับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด-19 ร่วมกัน เพื่อดูแลความปลอดภัยของทุกคน

1.           อ่านเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่พาดหัวข่าว อ่านเนื้อหาให้ครบถ้วน ควรระวังเมื่อเห็นรูปภาพ ตัวเลข คำพูด และวันที่ที่ไม่มีแหล่งที่มา รวมถึงข้อมูลเก่าที่ถูกนำมาใช้ หรือไร้บริบท

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

2.           แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณ ตรวจสอบหน้า “เกี่ยวกับ” หรือ About เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มานั้นๆ คุณยังสามารถตรวจสอบว่าหน่วยงานสาธารณสุขยืนยันหรือขัดแย้งกับข้อมูลดังกล่าวหรือไม่

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

3.           แชร์ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข่าวลือ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 มักแพร่กระจายบนเว็บไซต์ที่สร้างให้ดูเหมือนของจริง ขอให้คุณมองหาเบาะแสเล็กๆ น้อยๆ ที่ชี้ไปยังข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น URL ปลอม การสะกดที่ไม่ถูกต้อง หรือการจัดหน้าที่ดูแปลกตาและไม่เหมาะสม เป็นต้น

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

4.           พิจารณาภาพรวมบริบททั้งหมดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มองหารายงานอื่นๆ จากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เพื่อตรวจสอบว่าเรื่องราวและเนื้อหาดังกล่าว มีข้อมูลที่ถูกต้องจากหน่วยงานด้านสุขภาพหรือไม่

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

5.           หากเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องได้รับการแชร์โดยเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว ให้ส่งข้อความส่วนตัวเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบ หากเนื้อหาดังกล่าวได้รับการกดถูกใจและความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ให้ทำการแก้ไขต่อสาธารณะอย่างสุภาพ

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

6.           หยุดคิดก่อนแชร์ บางเรื่องราวอาจใช้ภาษาที่รุนแรงและสะเทือนอารมณ์โดยไม่ได้ให้ข้อเท็จจริง ขอให้คุณตรวจสอบความถูกต้องก่อนแชร์เรื่องราวดังกล่าว หรืออ้างอิงจากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพที่เป็นทางการและน่าเชื่อถือ เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านศูนย์ข้อมูลโควิด-19 บน Facebook

6 เคล็ดลับรับมือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เซฟก่อนฉีด! วัคซีน SINOVAC ไม่จริ

แนะ 6 วิธีรู้เท่าทันข่าวปลอม

ป่วน!  สธ. ยัน กทม. เปิดระบบ Web based จองวัคซีน ข่าวปลอม อย่าแชร์