รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า
โควิด 19 วัคซีน ความรู้เกี่ยวกับ โควิด 19 วัคซีน (ต่อ)
ยง ภู่วรวรรณ
11.mRNA วัคซีนใช้หลักการ เอาสวนรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ที่เป็น Messenger RNA ในการสร้างโปรตีนส่วนน้ำแหลม spike มาห่อหุ้มให้เป็น lipid nanoparticles แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย อาร์เอ็นเอส่วนนี้จะไปเข้าสู่เซลล์แล้วเข้าสู่กระบวนการ สร้างโปรตีนตามรหัสที่กำหนด ออกมาเป็นแอนติเจนกระตุ้นสร้างแอนติบอดี เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่บังคับให้เซลล์มนุษย์สร้างโปรตีนตามที่กำหนด
12.virus Vector vaccine เป็นวัคซีนที่ใช้ตัวไวรัสไม่ก่อโรค และใส่รหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 เข้าไปแล้วให้ตัวไวรัสนั้นติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ เพื่อให้รหัสพันธุกรรมนั้นผ่านกระบวนการสร้าง Messenger RNA แล้วจึงสร้างโปรตีนหนามแหลมออกมานอกเซลล์ เป็นแอนติเจนให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้
13.วัคซีนชนิดโปรตีนsubunit เป็นการสร้างโปรตีนให้เหมือนกับหนามแหลม spike โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เช่นใช้เซลล์เพราะเลี้ยงของแมลง คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี ที่ให้ยีสร้างให้ แต่เนื่องจากโปรตีนหนามแหลม spike มีขนาดใหญ่กว่า โปรตีนเปลือกผิวของไวรัสตับอักเสบบีมาก การสร้างขึ้นมาให้คงรูปร่าง จึงต้องใช้เซลล์ชั้นสูงขึ้น และเมื่อได้แล้วสิ่งที่สำคัญมากของวัคซีนชนิดนี้คือการใช้สารเพิ่มกระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีสารของตัวเองที่ใช้กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานขนาดสูงได้ นวัตกรรมที่สำคัญจะอยู่ตรงที่การใช้สารเพิ่มกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย วัคซีนนี้ที่ผ่านระยะที่ 3 และรอการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา คือ Novavax และวัคซีนที่มีการใช้ในประเทศจีนในภาวะฉุกเฉินแล้วคือ ของ Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical Co. Ltd แต่ต้องให้ 3 ครั้งคล้ายไวรัสตับอักเสบบี
14.วัคซีนเชื้อตาย ใช้วิธีการเพาะเลี้ยงไวรัสบน verocell ที่เป็นเซลล์ชนิดเดียวกับการเพาะเลี้ยงไวรัสอีกหลายชนิดที่นำมาทำวัคซีน แล้วไวรัสนั้นมาทำร้ายด้วยสารเคมี นำมาทำให้บริสุทธิ์ ให้จับกับสารเพิ่มภูมิต้านทานเป็นเกลือของอลูมิเนียม แล้วนำมาประกอบเป็นวัคซีน เช่นเดียวกับวัคซีนเชื้อตายที่ใช้ในอดีต
15.ข้อดีข้อเสียของวัคซีนชนิดต่างๆ mRNA กระตุ้นภูมิได้สูงสุด มากกว่าไวรัส vector วัคซีนชนิดเชื้อตายกระตุ้นภูมิต้านทาน ได้ต่ำกว่า ภูมิที่เกิดขึ้นจะเท่าเทียมกับการติดเชื้อ 1 ครั้งเท่านั้น
16.อาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ วัคซีนชนิด mRNA และไวรัส Vector มีอาการข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตามตัว เจ็บบริเวณที่ฉีด มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย อาการข้างเคียงรุนแรง ในการทำให้เกิดลิ่มเลือด ของไวรัส Vector โอกาสเกิดได้ 1 ในแสน ทำนองเดียวกัน mRNA ก็มีส่วนสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเลือด TTP และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบไหนเด็กวัยรุ่น
17.วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ใช้สายพันธุ์ของไวรัส ดั้งเดิม ตั้งแต่สายพันธุ์อู่ฮั่น และในปัจจุบันไวรัสได้มีการวิวัฒนาการ ปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด จึงทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบันลดลง
18.การกลายพันธุ์ของไวรัส ถ้ายิ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก มีการติดเชื้อมากมาย โอกาสก็จะเกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย แต่ถ้าไวรัสนี้สามารถควบคุมได้ และมีการระบาดเป็นเพียงแบบไข้หวัดใหญ่ อัตราการกลายพันธุ์ของไวรัสนี้ ช้ากว่าไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เมื่อฉีดวัคซีนครบแล้ว ในปีต่อไปก็คงจะต้องมีการฉีดเพิ่มขึ้นตามสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง แต่ตามหลักการสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้จะช้ากว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในอนาคตจึงต้องมีการฉีดในปีแรกๆและปีต่อๆไปอาจจะห่างออก ถ้าสามารถควบคุมโรคได้ไม่ให้มีการระบาดการกลายพันธุ์ก็จะเกิดขึ้นช้า
19.อย่างที่กล่าวมาแล้วโรคนี้ ประชากรทั้งโลกยังไม่มีภูมิต้านทานมาก่อน จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยวัคซีนในการกระตุ้นภูมิต้านทานให้เกิดขึ้นในประชากรหมู่มาก และผู้ที่มีภูมิต้านทานแล้วก็สามารถยับยั้งการติดเชื้ออย่างรวดเร็ว เป็นการลดความรุนแรงของโรคและลดการแพร่กระจายของโรค และจะทำให้ในที่สุด โรคนี้ก็ยังอยู่กับเรา แต่จะไปเป็นมากในเด็ก ซึ่งมีอาการน้อย กว่าผู้ใหญ่อย่างมาก ก็จะเป็นโรคทางเดินหายใจอีกรอบหนึ่งในอนาคต
20.ในปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าไม่ว่าจะฉีดวัคซีนยี่ห้อใด มาตรการในการควบคุมป้องกันโรค ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย การดูแลสุขอนามัยล้างมือ กำหนดระยะห่างของสังคม ยังต้องทำต่อไป ดังเห็นได้ในบทเรียนของประเทศที่ฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ยังสามารถทำให้เกิดโรคระบาดได้ไม่ว่าในอิสราเอลหรือในอังกฤษ
#หมอยง
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนต่อของเนื้อหาการให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของ "หมอยง " ซึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ" ได้เคยนำไปก่อนหน้านี้
ส่วนตัวเลขการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid-19) สะสมของประเทศไทยวันที่ 28 ก.พ.-26 มิ.ย.64 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นั้น พบว่ามีการฉีดสะสมแล้ว 9,055,141 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 6,475,826 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 2,579,315 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :