ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 กรุงเทพมหานคร (ศบค.กทม.) ได้เปิดเผยข้อมูลจากข้อมูลการสอบสวนโรคผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยสำนักอนามัย กทม. ระหว่างวันที่ 1-30 มิ.ย.64 พบว่า กลุ่มอาชีพของผู้ป่วยโควิด-19 ที่พบมากที่สุดคือ
ทั้งนี้กลุ่มผู้ป่วยวัยทำงานจะมีโอกาสติดเชื้อจากที่ทำงานหรือจากสถานที่ต่างๆ และเมื่อกลับบ้านโดยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ก็จะนำเชื้อมาแพร่ให้กับคนในครอบครัวและในชุมชนใกล้บ้านได้มากกว่าคนวัยอื่น
จากแนวโน้มและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้กรุงเทพมหานครมีความห่วงใยในความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชน และเพื่อเป็นการป้องกันการนำเชื้อมาแพร่สู่ผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรังในครอบครัว จึงได้เร่งรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจและขอความร่วมมือประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสุขอนามัยส่วนบุคคล (D-M-H-T-T-A) อย่างเคร่งครัด
โดยเน้นย้ำให้ครัวเรือนที่มีสมาชิกในวัยทำงาน ซึ่งต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพิ่มความระมัดระวัง พร้อมแนะนำให้หมั่นสังเกตตนเอง หากมีไข้ หรืออาการทางเดินหายใจ ควรงดการใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีและรักษาระยะห่างกับผู้สูงอายุ เมื่อกลับจากทำงาน หรือนอกที่พักอาศัย ควรอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที ทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ ที่นำติดตัวออกไปด้วย เช่น กระเป๋า รองเท้า และกุญแจ ก่อนเก็บเข้าที่
เนื่องจากเชื้อโรคอาจเกาะอยู่บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ได้ รวมทั้งทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือด้วยแอลกอฮอล์ก่อนที่จะใช้งาน และสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด -19 ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.64 พบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 1,492 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 87,464 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 19,999 ราย แบ่งเป็นการรักษาในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 2,817 ราย ,โรงพยาบาลนอกสังกัด กทม. 5,404 ราย และ โรงพยาบาลสนาม 11,778 ราย ส่วนยอดผู้ป่วยที่รักษาหายประจำวัน 956 ราย รวมยอดผู้ป่วยรักษาหายสะสม 77,913 ราย และมีผู้เสียชีวิต 31 ราย
ด้านตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดในกรุงเทพมหานครย้อนหลัง 5 วัน
5 ก.ค.64 : 1,729 คน
4 ก.ค.64 : 1,498 คน
3 ก.ค.64 : 1,971 คน
2 ก.ค.64 : 2,267 คน
1 ก.ค.64 : 1,960 คน