วันที่ 13 ก.ค. 64 มติที่ประชุม ครม.อนุมัติ "มาตรการเยียวยาล่าสุด " เพิ่มเติมใน 5 สาขาอาชีพ ที่รับผลกระทบจาก ประกาศ"เคอร์ฟิว" และ "ล็อกดาวน์"
เฉพาะในพื้นที่ 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา
สำหรับช่วยเหลือแรงงานในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มจากเดิม 4 สาขาอาชีพ เป็น 9 สาขาอาชีพ โดยสาขาที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ 5 สาขา ระยะเวลาการช่วยเหลือ 1 เดือน ได้แก่
โดยรูปแบบการช่วยเหลือ ดังนี้
นอกจากนี้ ลดค่าน้ำค่าไฟ 12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.ลดค่าไฟ ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 10 จังหวัด ระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.)
2.ลดค่าน้ำ ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 10 จังหวัด ระยะเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย.)
สำหรับรายละเอียดทั้งหมด ทีมโฆษกรัฐบาลจะแถลงในลำดับต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ 4 สาขาอาชีพ ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ใน พื้นที่สีแดงเข้ม ไปแล้วได้แก่
เปิดมาตรการเยียวยาเพิ่มเติม! จ่ายผู้ประกันตน ม.33 เพิ่มเติม 2,500 บาท/คน เป็น ระยะเวลา 1 เดือน พร้อมลดค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า 2 เดือน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด
จากนั้นเวลา 16.00 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติครม.ว่า ที่ประชุมครม.วันนี้ เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงชลา)
เพื่อช่วยลดผลกระทบในระยะสั้นสำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคมใน 9 สาขา ได้แก่
โดยมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1. กลุ่มแรงงานและนายจ้างผู้ประกอบการ ระยะเวลา 1 เดือน
ในระบบประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย
นอกระบบประกันสังคม ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ไม่ได้เป็นม.33/ม.39 และ ม.40)
ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ ในหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค่าบริการและกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
กรณีที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.33) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับเงินตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ และลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน
2. ประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศ
ลดค่าไฟฟ้า-ลดค่าน้ำประปา ระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค. 64) ดังนี้
ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ระยะเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย. 64)
ส่วนมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ได้มีประกาศให้สถานศึกษาภาครัฐพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการให้ส่วนลดเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ พร้อมให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม หารือกับสถานศึกษาในสังกัดเพื่อแนวทางการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ
พร้อมให้จัดทำข้อเสนอโครงการในลักษณะรัฐร่วมสมบทภาระส่วนลดให้แก่สถานศึกษาบางส่วน เพื่อเสนอให้ครม. พิจารณาภายใน 1 สัปดาห์
นอกจากนี้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะพิจารณาแนวทางทางการเงินเพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาภาคเอกชนที่ประสบปัญหาทางการเงินที่เหมาะสมด้วย
สำหรับมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้สถาบันการเงินนั้น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย จะหารือกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยหรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินด้วย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมถึงกรอบวงเงินสำหรับมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการว่า จำนวนท 30,000 ล้านบาท สำหรับมาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า ให้กฟน. กฟภ. กปน. และกปภ. ขอรับสนับสนุนภายใต้กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 12,000 ล้านบาท
ซึ่งหลังจากนี้ ครม. ยังมีจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือในระยะต่อไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศต่อไปด้วย