จากกรณีที่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) (ตามข้อกำหนด ฉบับที่ 27) รวม 10 จังหวัด
หลักการการให้ความช่วยเหลือ
- กลุ่มเป้าหมายให้ความช่วยเหลือ ขยายการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบและนอกระบบในกิจการที่ได้รับผลกระทบตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
ประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือ
ขยายประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบ (ตามหมวดที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด) จากเดิม 4 สาขา ได้แก่
- กิจการก่อสร้าง
- กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
- และกิจกรรมบริการด้านอื่นๆ
ครม. เคาะเพิ่มเติมเป็น 9 สาขา
- สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- สาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
- สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
- สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ
วัตถุประสงค์
- เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย เข้าสู่ระบบประกันสังคมเพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพมีหลักประกันทางสังคมในระยะยาว และภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์วิกฤตที่ครอบคลุมผู้ที่ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- มีอายุด 15-65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบการอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย00)
- ผู้พิการที่รับสิทธิก็สมัครได้
ลูกจ้าง
- ม.33 รับเงิน 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐจ่ายสมทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมเป็น 10,000 บาทต่อคน
- ม.39, 40 รับเงิน 5,000 บาทต่อคน
- อาชีพอิสระ ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายใน ก.ค. นี้ รับเงิน 5,000 บาท
นายจ้าง
- นายจ้าง ม.33 รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
- ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท
สำหรับผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง”
1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
2.ร้าน OTOP
3.ร้านค้าทั่วไป
4.ร้านค้าบริการ
5.กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท
ที่มา: รัฐบาลไทย