"ฉีดไขว้-ฉีดเข็ม 3" ยี่ห้อไหน ยังไงดี "ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา" อธิบายชัด

18 ก.ค. 2564 | 07:22 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ค. 2564 | 16:12 น.

"ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา" เคลียร์ข้อสงสัย การ "ฉีดวัคซีนไขว้" และการ "ฉีดวัคซีนเข็ม 3" ควรทำอย่างไร ควรทำหรือไม่ ชี้คำนึงถึงหลักวิชาการ แม้องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศรับรอง ผู้บริหารแต่ละประเทศสามารถใช้ดุลพินิจของแต่ละประเทศ

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายความจำเป็นในการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 ที่ต่างกัน รวมทั้งการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ที่หลายคนยังคาใจ

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าไปแล้วเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยที่อังกฤษจากเดิมที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อัลฟ่าจำนวนมาก แต่ขณะนี้พบว่ากว่า 95% ที่ระบาดอยู่คือสายพันธุ์เดลต้า รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ก็มีการแพร่กระจายของสายพันธุ์นี้อย่างหนัก เช่นเดียวกับประเทศไทย ตอนนี้เจอสายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าถึง 4.1 เท่า 

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นจำนวนมากของปริมาณผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กลับพบว่าปริมาณการเสียชีวิตไม่ได้สูง เหมือนช่วงปีที่แล้ว เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณประชากรที่ได้รับวัคซีนที่มากเพียงพอ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยก็ควรเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชากรให้ได้มากที่สุด ส่วนกรณีที่มีความสงสัยว่า ควรจะฉีดยี่ห้อไหน ควรจะฉีดสลับ และต้องฉีดเข็ม 3 หรือไม่นั้นต้องดูจากข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งปีที่แล้วเชื้อกลายพันธุ์ ทั้งเดลต้า อัลฟ่า ยังไม่มี

การดูข้อมูลวัคซีนย้อนหลัง นั่นคือ การทดลองเมื่อก่อน ตุลาคม 2563 ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อัลฟ่า การพูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีน ดูแต่ข้อมูลย้อนหลังไม่ได้ ต้องดูสถานการณ์ ณ ปัจจุบันด้วย สายพันธุ์อัลฟ่า พบเดือนกันยายน 2563 สายพันธุ์เบต้า พบพฤษภาคม 2563 สายพันธุ์แกมม่า พบ พฤศจิกายน 2563 และ สายพันธุ์เดลต้า พบ ตุลาคม 2563 

สายพันธุ์เหล่านี้ เป็น Variants of Concern ต้องเฝ้าระวังและควบคุม และตอนนี้มีสายพันธุ์ Ramda จากประเทศเปรู ซึ่งกำลังเฝ้าติดตาม สายพันธุ์เหล่านี้ ปีที่แล้วไม่มี เราจะจัดการอย่างเดิมไม่ได้ เพราะความรุนแรงและความรวดเร็วในการแพร่กระจายต่างกัน 

การฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ และการฉีดเข็ม 3 ต้องมาดูตั้งแต่วัคซีน ที่มีอยู่ขณะนี้ มี 4 แพลทฟอร์ม คือ mRNA ได้แก่ Pfizer-BioNTech และ Moderna อีกแพลทฟอร์ม คือ Viral vector vaccine ที่ใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลงแล้วไม่ทำให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ coronavirus ลงไป ก็มี Gamaleya หรือ สปุกนิก ของรัสเซีย AstraZeneca, CanSino ของจีน และ Johnson&Johnson ซึ่ง Gamaleya และ CanZina ยังไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก กำลังรอการประเมิน 

อีกแพลทฟอร์มคือ การนำ Protein มาใช้ ซึ่งคาดว่าต่อไปจะมีบทบาทเยอะขึ้น มีวัคซีนของ Vector Institute และ Novavax และแพลทฟอร์ม Inactivated ที่เอาเชื้อตายในทำวัคซีน ได้แก่ Sinopharm, Sinovac, Sinopharm-Wuhan และ Bharat Biotech 


ตอนนี้ที่มีการจับคู่คือ mRNa และ Viral Vector Vaccine  หรือ Viral Vector Vaccine กับพวกวัคซีนเชื้อตาย และมีการจับคู่กันระหว่าง mRNa กับวัคซีนเชื้อตาย จะมีผลงานวิจัยเหล่านี้ออกมา แต่องค์การอนามัยโลคยังไม่รับรอง เพราะใช้จำนวนคนไข้ยังไม่เยอะ แต่สถานการณ์ในไทย และประเทศที่ถูกจู่โจมโดย เดลต้า ก็เริ่มศึกษา ซึ่งพบว่าเข็ม 1 และ 2 ที่ไม่เหมือนกัน มีโอกาสดูแล จัดการกับสายพันธุ์เดลต้า ได้ดี กว่า เหมือนกัน

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ อธิบายว่า ระบบภูมิคุ้มกันในตัวเรา ที่จะจัดการกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่ายกาย จะมีเซลล์ 2 กลุ่ม  คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า ทีเซลล์ และกลุ่มเม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า ดีเซลล์ โดยดีเซลล์จะจัดการเชื้อไวรัสต่างๆ ด้วยการสร้างแอนตี้บอดี้ ไปจัดการ ทำให้เซลล์ไม่ติดเชื้อ ...ลักษณะนี้ คือ mRNa และ เชื้อตายทำได้ดีมาก 

กับอีกกลไก คือ กลไกที่อาศัย ทีเซลล์ การทำงานของเม็ดเลือดขาวทีเซลล์ คือ เมื่อไรที่ เซลล์มีการติดเชื้อ ทีเซลจะไปกำจัดเซลล์ที่มีการติดเชื้อ ซึ่งวัคซีนที่ทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีมากคือ วัคซีนในกลุ่ม Viral Vector เพราะฉะนั้น วัคซีนที่เข้าทำหน้าที่ทำให้ทีเซลล์ทำงานได้ดีมาก ก็จะช่วยลดการเสียชีวิต 

ดังนั้น ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดคิดที่จะฉีดเข็ม 1 และ 2 ที่ต่างกัน โดยเข็ม 1 กระตุ้นอย่างหนึ่ง อีกเข็มหนึ่ง กระตุ้นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจับคู่กันเรียบร้อย ก็จะช่วยได้ดี งานวิจัยที่เห็น การจับคู่ mRNa กับ Viral Vector มีการจับคู่เยอะ และส่วนของเชื้อตายกับ Viral Vector ก็มีการจับคู่กันเยอะลองลงมา

เรื่องของการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ และการฉีดเข็ม 3 ที่มีการพูดกันว่า จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น ลดอัตราความเสี่ยงลง เรื่องดังกล่าวองค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศรับรอง เนื่องจากมีงานวิจัยแค่หลักร้อยตัวอย่าง เรื่องนี้แต่ประเทศต่างๆ สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาดำเนินการได้ 

สำหรับการฉีดไขว่กัน หรือสลับยี่ห้อ ขณะนี้ 4 โรงเรียนแพทย์ กำลังทำงานวิจัยอยู่ ซึ่งคาดว่า ผลงานวิจัยน่าจะออกเร็วๆ นี้ 

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา ได้มีการขอให้ฉีดเข็ม 3 ไฟเวอร์กระตุ้นให้ประชากรเช่นกัน แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากยังมีประชาชนจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลยซักเข็ม เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งหากต้องการฉีดเข็ม 3 ก็ต้องมาดูเรื่องการกระตุ้นทีเซลล์เช่นกัน