จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาโควิด ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด โดยให้ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ www.sso.go.th
ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มผู้ทำอาชีพอิสระหรือเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะได้รับสิทธิความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์จากการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จะได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาทจากรัฐบาล
โดยกลุ่มอาชีพอิสระที่ยังไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมเปิดช่องกำหนดให้ต้องยื่นหลักฐานการเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินเยียวยาล่าสุดจำนวน 5000 บาท
คุณสมบัติของผู้ประกันตนม.40
ช่องทางสมัครมาตรา 40
1.เว็บไซต์ www.sso.go.th
2. เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
3.ธนาคาร ธกส.ทุกสาขา
4.เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ
5.บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
6.สายด่วนประกันสังคม 1506
เลือกจ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ได้แก่
สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40
วิธีรับเงินประโยชน์ทดแทน
1. ณ สำนักงานประกันสังคม
2. ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
3. โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ทางเลือกที่ 1 และ 2
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
(3) ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี
*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
วันละ 200 บาท
*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน
หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่
กรณีทุพพลภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีตาย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ
หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ก่อนเดือนที่ตาย จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
กรณีชราภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ทางเลือกที่ 1
-ไม่คุ้มครอง-
ทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก
เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน
กรณีสงเคราะห์บุตร
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
*ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
-ไม่คุ้มครอง-
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม