เช็คสิทธิประกันสังคมผู้ประกันตนกลุ่มไหนได้เงินเยียวยาล่าสุดถึง1 หมื่น

21 ก.ค. 2564 | 17:02 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ค. 2564 | 11:42 น.

เช็คสิทธิประกันสังคมผู้ประกันตน ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด ไขข้อสงสัยผู้ประกันตนม.33 กลุ่มไหนบ้างได้รับสิทธิเงินเยียวยาล่าสุดถึง 1 หมื่นบาท ตรวจสอบที่นี่ที่เดียว

คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาโควิด สำหรับพื้นที่สีแดงเข้มเพิ่มเติมจากเดิม 10 จังหวัด เพิ่มเป็น 13 จังหวัด ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40   เพื่อรับสิทธิเงินเยียวยาล่าสุดไม่เกิน 1 หมื่นบาท

 

ซึ่งขณะนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีคำถาม? ตามมาว่าจะได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 1 หมื่นบาทหรือไม่ ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ไปหาคำตอบและไขข้อสงสัยว่าใครบ้างได้สิทธิเงินเยียวยาล่าสุด 10,000 บาท

ผู้ประกันตนม.33 เลิกจ้างได้สิทธิไม่เกิน 1 หมื่นบาท

  • สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด กรณีที่ยังไม่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 2,500 บาท ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกเลิกจ้างได้รับเงินเยียวยาเพิ่มอีก 7,500 บาท เนื่องจากผู้ประกอบการยังไม่ได้ปิดกิจการ หมายความว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้างกรณีที่ผู้ประกอบการยังไม่ปิดกิจการ จะได้รับเงินทั้งสิ้น 9,500 บาท ตามเงื่อนไขของมติครม. โดยสำนักงานประกันสังคมโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน

 

ขณะที่ นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนและการทำความเข้าใจกรณีเงินเยียวยาที่ถูกต้อง ที่จะนำมาเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดว่า  

กรณีของผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินเยียวยา 2 รูปแบบ คือ

 

(1) เงินเยียวยาที่มาจากรัฐบาล

(2) เงินชดเชยรายได้ 50% ที่มาจากประกันสังคม

ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินเยียวยา แบ่งเป็น 2 รูปแบบ โดยแบบแรกคือจะได้รับการเยียวยาจากรัฐ คือ เงินเยียวยา 2,500 บาท ซึ่งตรงนี้เป็นเงินจากรัฐบาล ไม่ใช่เงินจากประกันสังคม โดยลูกจ้างสามารถเข้าไปเช็คสิทธิได้ที่ www.sso.go.th  คลิกไปที่ ตรวจสอบสิทธิ ผู้ประกันตน มาตรา 33 แล้วกรอกเลขบัตรประชาชนลงไป ก็สามารถเช็คได้เลย

 

 

เช็คสิทธิประกันสังคมผู้ประกันตนกลุ่มไหนได้เงินเยียวยาล่าสุดถึง1 หมื่น

พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดมีดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  •  สมุทรสาคร
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สงขลา
  • อยุธยา
  • ชลบุรี
  • ฉะเชิงเทรา

 

ใน 9 หมวดประเภทกิจการ ได้แก่

1.ก่อสร้าง

2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์

6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์

8.กิจกรรมทางวิชาการ

9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม