เช็คสิทธิประกันสังคม ลงทะเบียนพร้อมเพย์บัตรประชาชนรับเงินเยียวยาล่าสุด

21 ก.ค. 2564 | 21:04 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ค. 2564 | 12:49 น.

เช็คสิทธิประกันสังคม ช่องทางละเบียนพร้อมเพย์บัตรประชาชน หลัง ครม.อนุมัติมาตรการเยียวยาโควิด สำหรับผู้ประกันตนในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัดรับเงินเยียวยาล่าสุด 1 หมื่นบาท

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาโควิด สำหรับพื้นที่สีแดงเข้มเพิ่มเติมจากเดิม 10 จังหวัด เพิ่มเป็น 13 จังหวัด ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40   

 

พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดมีดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร
  • นครปฐม
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • สมุทรปราการ
  •  สมุทรสาคร
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สงขลา
  • อยุธยา
  • ชลบุรี
  • ฉะเชิงเทรา

 

ใน 9 หมวดประเภทกิจการ ได้แก่

1.ก่อสร้าง

2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์

6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์

8.กิจกรรมทางวิชาการ

9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

 

โดยมีกิจการ 9 หมวดได้รับการเยียวยา

 

ลูกจ้าง

- ม. 33 รับเงิน 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐจ่ายสมทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมเป็น 10,000 บาทต่อคน

- ม. 39 , 40 รับเงิน 5,000 บาทต่อคน

- อาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายใน ก.ค. นี้ รับเงิน 5,000 บาท

 

นายจ้าง

- นายจ้าง ม.33 รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน

- ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน

- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท

 

สำหรับผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง”

1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

2.ร้าน OTOP

3.ร้านค้าทั่วไป

4.ร้านค้าบริการ

5.กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท

 

โดยสำนักงานประกันตนโอนเงินเยียวยาผู้ประกันตนผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน สำหรับช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชนดังนี้

ยังไม่มีพร้อมเพย์ สมัครอย่างไร?

  • พร้อมเพย์ ไม่ใช่การเปิดบัญชีรนาคารใหม่ แต่เป็นการผูกบัญชีธนาคาร (ของธนาคารใดก็ได้) กับหมายเลขบัตรประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการโอน โดยไม่ต้องใช้บัญชีรนาคารในการโอน ไม่ต้องบอกสาขา และธนาคารที่จะรับโอนโดยสามารถผูก 1 หมายเลข ต่อ 1 บัญชีเท่านั้น หากต้องการผูกบัญชีกับธนาคารไหนก็สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารเจ้าของบัญชีได้เลย โดยวิธีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของแต่ละธนาคารอาจมีความแตกต่างกัน

 

ช่องทางการลงทะเบียน

  • กรุงไทย
  • กรุงศรีอยุธยา
  • กสิกรไทย
  • ไทยพาณิชย์
  • กรุงเทพ
  • ออมสิน
  • ธ.ก.ส
  • TTB
  • CIMB BANK

เช็คสิทธิประกันสังคม ลงทะเบียนพร้อมเพย์บัตรประชาชนรับเงินเยียวยาล่าสุด

 

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม