ประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้างหลังสมัครเป็นผู้ประกันตน ครบจบที่นี่

27 ก.ค. 2564 | 19:02 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2564 | 14:10 น.

ประกันสังคมมาตรา 40 หลังผู้ประกันตนยื่นเงื่อนไขให้สำนักงานประกันสงคมครบถ้วนแล้ว ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างหลังสมัครเป็นผู้ประกันตนอย่างเป็นทางการเช็ครายละเอียดครบจบที่นี่

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตกการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด จากการแพร่ระบาดระลอก 3 โดยเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 13 จังหวัด โดยเปิดให้ผู้ประกันในกลุ่มอาชีพอิสระ และ ฟรีแลนซ์ มาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย

 

พื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มมีดังนี้

  • กรุงเทพ
  • นนทบุรี
  • ปทุมธานี
  • นครปฐม
  • สมุทรสาคร
  • สมุทรปราการ
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • อยุธยา
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สงขลา

 

เงื่อนไขรับสมัคร

  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  • สมัครได้ที่ เซเว่น,เคาน์เตอร์เซอร์วิส,บิ๊กซี,ธกส
  • เว็บไซต์ www.sso.go.th เครือข่ายประกันสังคม
  • หรือ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • สัญชาติไทย
  • เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท
  • ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
  • ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

 

จ่ายเงินสมทบ

  • ทางเลือกที่ 1 : 70 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 2: 100 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 3 : 300 บาท/เดือน

 

เงินเยียวยาที่จะได้รับ

  • 5000 บาท ครั้งเดียว
  • ประมาณกลางเดือนสิงหาคม หรือ วันที่ 16 สิงหาคม

 

9 หมวดประเภทกิจการที่ได้รับสิทธิ ดังนี้

1.ก่อสร้าง

 

2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

 

 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

 

4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

 

 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์

 

6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

 

7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์

 

8.กิจกรรมทางวิชาการ

 

9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

 

สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด หากกลับออกไปต่างจังหวัดสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40  เช่นเดียวกับสิทธิบัตรทองอยู่นอกพื้นที่สามารถสมัครได้เช่นเดียวกัน

 

วิธีสมัคร

  • สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

 

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส ได้แก่ เซเว่นอีเลฟเว่น บิ๊กซี ธนาคาร ธกส. เพียงนำบัตรประชาชนพร้อมเงิน
  • การจ่ายเงินเยียวยาจะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ (เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีธนาคารที่เรามีอยู่)

ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครองดังนี้

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป 

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาทต่อเดือน 300 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน 300 บาท

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน 300 บาท

  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาลใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาทต่อเดือน 200 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน 200 บาท

 ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน 200 บาท

  • เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อปี

 

2. กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท  500-1000 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท 500-1000 บาท

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท 500-1000 บาท

 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา

 

ทางเลือกที่ 1 เป็นเวลา 15 ปี

ทางเลือกที่ 2 เป็นเวลา 15 ปี

ทางเลือกที่ 3 ตลอดชีวิต

  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ

ทางเลือกที่ 1 จำนวน 25,000 บาท

ทางเลือกที่ 2 จำนวน 25,000 บาท

ทางเลือกที่ 3 จำนวน 50,000 บาท

 

3. กรณีเสียชีวิต รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ

ทางเลือกที่ 1 จำนวน 25,000 บาท

 ทางเลือกที่ 2 จำนวน 25,000 บาท

 ทางเลือกที่ 3 จำนวน 50,000 บาท

  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม

ทางเลือกที่ 1 รับเพิ่ม 8,000 บาท

ทางเลือกที่ 2 รับเพิ่ม 8,000 บาท

ทางเลือกที่ 3 จำนวน ไม่คุ้มครอง

 

4. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ  (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และ สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)

 

ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 คุ้มครอง 50 บาท

ทางเลือกที่ 3 คุ้มครอง 150 บาท

 

  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม

ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 ไม่คุ้มครอง 50 บาท

ทางเลือกที่ 3 รับเพิ่ม 10,000 บาท

 

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ

ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

ทางเลือกที่ 3 ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

 

5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน)

ทางเลือกที่ 1 ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 ไม่คุ้มครอง

 ทางเลือกที่ 3 คุ้มครองคนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน).

 

 

ประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้างหลังสมัครเป็นผู้ประกันตน ครบจบที่นี่

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม