กทม.สรุปแนวทางการตรวจหาเชื้อ-การเข้าระบบการรักษาโควิด-19

05 ส.ค. 2564 | 10:52 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ส.ค. 2564 | 18:26 น.

"พงศกร ขวัญเมือง"โฆษกกรุงเทพมหานคร สรุปแนวทางการตรวจหาเชื้อโควิด-19 รวมถึงการเข้าระบบการรักษาตัวในพื้นที่กทม.

นายพงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซ บุ๊กFacebook สรุปแนวทางการตรวจหาเชื้อและการเข้าระบบการรักษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ คน ดังนี้

 

กรณีสงสัยว่าอาจจะติดโควิด

 

  •  มีอาการ มีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอแห้งแบบไม่มีเสมหะ รู้สึกคันระคายคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจลำบาก อ่อนเพลีย บางรายมีผื่นแดงคล้ายตาข่าย ผื่นเป็นจุดเลือด ผื่นบวมแดงคล้ายลมพิษ และตุ่มน้ำใส

 

  • เคยมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ เพิ่งเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดมาก

การตรวจหาเชื้อ

 

 

 

  • ติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หากเป็นพื้นที่การระบาดสูง จะมีหน่วยตรวจเชิงรุก CCRT เข้าไปตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) หากผลตรวจติดเชื้อจะส่งเข้าศูนย์พักคอยในโซนแยกเฉพาะสำหรับผู้ที่มีผลติดเชื้อจากการตรวจด้วย ATK และจะมีหน่วยตรวจ Rt-PCR ตรวจซ้ำอีกครั้ง ซึ่งมีอยู่ 14 จุด ที่ลิงก์สำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร 

การเข้ารับการรักษา

ผู้ที่พบว่าตนเองมีผลตรวจติดเชื้อและใบแล็ปรับรองผลตรวจให้โทร.สายด่วน 1330

 

  • หากไม่มีอาการและสามารถกักตัวรักษาที่บ้านได้ แนะนำให้ทำ Home Isolation (HI) จะมีทีมแพทย์ติดตามโทรสอบถามอาการผ่านระบบ BKK HI/CI Care จะได้รับยาและอาหารครบทั้ง 3 มื้อ

 

  •  หากไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ สามารถขอเข้าพักที่ศูนย์พักคอย (Community Isolation :CI) ในชุมชนได้

 

*** ถ้าติดต่อสายด่วน 1330 แล้ว ไม่ได้รับยาและอาหาร หรือมีอาการแย่ลง เขตทั้ง 50 เขต พร้อมเข้าไปช่วยเหลือ โทร.สายด่วนโควิดเขตได้ครับ ที่ลิงก์ เปิดสายด่วน50เขตโทรประสานขอความช่วยเหลือและเข้าระบบรักษา(คลิ๊กที่นี่) 

 

ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุก ๆ คน ทีมบุคลากรทางแพทย์และเจ้าหน้าที่ เต็มที่ในการรักษาผู้ป่วยทุกคนให้ปลอดภัย ในสถานการณ์วิกฤตินี้