รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า ผู้ติดเชื้อกรุงเทพฯ 1 แสนราย เข้าสู่การรักษาตัวแบบที่เรียกว่า Home Isolation ลองมาทำความรู้จักกันดู
HI : Home Isolation หรือการรักษาแบบแยกกักที่บ้าน คือ การดูแลรักษาผู้ที่ติดเชื้อเป็นโควิดแล้ว แต่ไม่มีอาการ
HQ : Home Quarantine หรือการกักตัวที่บ้าน คือ การกักตัวผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ แต่มีประวัติสัมผัสเสี่ยง
ในเรื่องการกักตัว (Quarantine ) จะแยกออกเป็น 3 ประเภทคือ
ส่วนกรณีที่ติดเชื้อแล้ว จะมีสถานที่ดูแลรักษาแบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่
1. Isolation ดูแลรักษาแยกกัก
1.1) ที่บ้าน HI : Home Isolation
1.2) ในชุมชน CI : Community Isolation
2.Field Hospital :โรงพยาบาลสนาม
3.Hospital: โรงพยาบาลหลัก
กล่าวเฉพาะ Home Isolation หรือการดูแลรักษาแบบแยกกักที่บ้าน จะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
เมื่อเข้าเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว และสมัครใจที่จะรับการดูแลแบบนี้ ก็จะได้รับการสนับสนุนประกอบด้วย
โดยระหว่างที่ดูแลรักษาแบบแยกกักที่บ้านนั้น ควรจะปฏิบัติตัวดังนี้
ขณะนี้ มีผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์ของการรักษาแบบแยกกักที่บ้าน หรือ Home Isolation ในกรุงเทพฯประมาณ 100,000 ราย จึงนับเป็นระบบที่สำคัญมาก ที่จะช่วยรองรับ ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เพื่อไม่ให้เตียงในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามเต็ม จากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
แล้วทำให้ผู้ที่มีอาการปานกลางหรืออาการหนัก ไม่มีโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลักรองรับ
ขณะนี้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมสนับสนุนบริการ ได้ทำความเข้าใจกับคลินิกต่างๆหลายพันแห่ง ที่จะเข้าร่วมดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อดังกล่าวแล้ว
สำหรับประเทศไทยนั้น
จากการติดตามข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า สาธารณสุขประเทศไทยได้นำแนวทางโฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) มาใช้ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับรองว่า ผู้เอาประกันภัยที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยวิธีนี้ จะได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ตามเดิม เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงได้เข้าถึงการรักษา ผู้ป่วยใหม่ที่ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) สามารถลงทะเบียนเพื่อรับยา และเข้าถึงแพทย์ด้วยวิธีการ Telemedicine ได้จนกว่าจะหาย