มติที่ประชุมศบค.เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ยังคงมาตรการ “ล็อกดาวน์” พื้นที่สีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 29 จังหวัด(เดิม) ต่อไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564
โดยรายชื่อทั้ง 29 จังหวัด ประกอบด้วย
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบ ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็น “ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30)” ซึ่งเป็นมาตรการล็อกดาวน์ เคอร์ฟิว ห้ามนั่งทานอาหารในร้าน รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ที่เริ่มบังคับใช้วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา และจะบังคับใช้ต่อไปจนถึง 31 สิงหาคม 2564 โดยมีมาตรการโดยสรุปดังนี้
แต่ทั้งนี้ มติศบค. ปรับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด โดยให้เปิดกิจการธนาคาร/สถาบันการเงินในห้างสรรพสินค้าได้
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า ในที่ประชุม ศบค. ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงแบบจำลองมาตรการป้องกันโควิด-19 หากไม่มีการใช้มาตรการใดๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะไปแตะ 6-7 หมื่นรายในช่วงเดือน ก.ย.
แต่หากมีมาตรการล็อกดาวน์ work from home ปิดกิจการที่เสี่ยงเหมือนที่ใช้ในปัจจุบันจะลดการระบาดได้ประมาณ 20%
ซึ่งหากใช้มาตรการนี้ถึงวันที่ 31 ส.ค. กราฟผู้ติดเชื้อจะนิ่งไปถึงปลายเดือน ส.ค. และกราฟจะค่อยๆ โด่งในช่วงเดือน ต.ค. จนถึงเดือน พ.ย. แต่ถ้ามาตรการเข้มขึ้นไปได้อีก 25% เราจะเห็นภาพการกดตัวเลขลงในปลายเดือน ก.ย. แต่ถ้ามีการระบาดอีกในเดือน ต.ค. จะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นไปได้
ขณะที่แบบจำลองผู้เสียชีวิตก็จะเป็นไปในลักษณะคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม แบบจำลองนี้เป็นคาดการณ์ว่าถ้าเราเพิ่มมาตรการต่างๆ จะทำให้เราควบคุมโรคได้
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังรับทราบมาตรการการจำกัดการเดินทางในพื้นที่ กทม. และชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) พบว่าประชาชนให้ความร่วมมือลดการเดินทาง ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ที่ประชุมจึงให้คงระดับพื้นที่ไว้เช่นเดิมจนถึงวันที่ 31 ส.ค. แต่ให้เพิ่มการทดสอบ ค้นหา แยกกักในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลด้วย และให้เพิ่มทีม CCRT ให้เพียงพอ