ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่

22 ส.ค. 2564 | 02:09 น.

ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๖๔ ระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่าพ.ศ. ๒๕๖๔

 

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติตลอดไป

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๖๔”

 

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๔๖

 

ข้อ ๔ ระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

 

ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “กรุงรัตนโกสินทร์” หมายความว่า

 

(๑) พื้นที่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง กําหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลง อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงวัดสามพระยา แขวงบางขุนพรหม แขวงบ้านพานถม แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงบวรนิเวศ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงสําราญราษฎร์ แขวงวัดราชบพิธ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดโสมนัส แขวงบ้านบาตร แขวงคลองมหานาค แขวงวัดเทพศิรินทร์ แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงสัมพันธวงศ์ แขวงจักรวรรดิ แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยให้จําแนก พื้นที่เป็น ๔ บริเวณ ดังนี้

 

(ก) บริเวณที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน หมายถึง พื้นที่ในบริเวณระหว่างแนวกึ่งกลาง แม่น้ําเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกจดแนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองคูเมืองเดิม)

 

(ข) บริเวณที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก หมายถึง พื้นที่ในบริเวณถัดจากบริเวณ กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในไปทางทิศตะวันออก ตั้งแต่แนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองคูเมืองเดิม)

 

แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือและทิศใต้ ไปจดแนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองบางลําพู และคลองโอ่งอ่าง)

(ค) บริเวณที่ ๓ พื้นที่ฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึง พื้นที่ ในบริเวณถัดจากบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในไปทางทิศตะวันตก ระหว่าง ทิศเหนือ จดคลองบางยี่ขัน ฝั่งเหนือ และแนวกึ่งกลางแม่น้ําเจ้าพระยา ทิศใต้ จดซอยวัดกัลยาณ์และถนนเทศบาลสาย ๑ และเส้นตรงซึ่งลากจากจุดบรรจบของถนนประชาธิปกกับถนนลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้าไปยัง จุดบรรจบของซอยสมเด็จเจ้าพระยา ๑ กับซอยอุทัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนจดแนวกึ่งกลาง แม่น้ําเจ้าพระยา และทิศตะวันตก จุดซอยวัดดาวดึงษาราม เส้นตรงซึ่งลากจากจุดบรรจบของซอย วัดดาวดึงษารามกับถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าไปจดจุดบรรจบของซอยวัดดุสิตารามกับถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซอยวัดดุสิตาราม คลองขนมจีน คลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ และคลองบ้านขมิ้นฝั่งตะวันตก จนจดกับ คลองบางกอกใหญ่ฝั่งตะวันออก

 

(ง) บริเวณที่ ๔ พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก หมายถึง พื้นที่ ในบริเวณถัดจากบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกไปทางทิศตะวันออก ตั้งแต่แนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองบางลําพูและคลองโอ่งอ่าง) แนวกึ่งกลางแม่น้ําเจ้าพระยาด้านทิศเหนือและทิศใต้ ไปจดคลองผดุง กรุงเกษมฝั่งตะวันออก

 

(๒) บริเวณอื่นที่ติดต่อหรือเกี่ยวข้องกับบริเวณตาม (๑) ที่คณะกรรมการกําหนด “เมืองเก่า” หมายความว่า

 

(๑) เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาแต่กาลก่อน หรือที่มีลักษณะ เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะจําเพาะของสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์

 

(๒) เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีรูปแบบผสมผสานสถาปัตยกรรมต่างถิ่น หรือมีลักษณะ เป็นรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาในยุคต่าง ๆ

 

(๓) เมืองหรือบริเวณของเมืองที่เคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่งและยังคงมีลักษณะเด่น ประกอบด้วยโบราณสถาน

 

(๔) เมืองหรือบริเวณของเมืองซึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือโดยอายุ หรือโดยลักษณะ แห่งสถาปัตยกรรม มีคุณค่าในทางศิลปะ โบราณคดี หรือประวัติศาสตร์

 

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการ ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ

 

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า

 

ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กํากับการบริหารราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงกลาโหม

 

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการ พระราชวัง ผู้อํานวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อม นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

ให้เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของ ประธานกรรมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการสองคน

 

ข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี

 

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้ยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนหรือให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้น อยู่ในตําแหน่งเท่ากับ วาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

 

เมื่อครบกําหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

 

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ข้อ ๘ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง

 

(๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

(๕) ต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือความผิด อันได้กระทําโดยประมาท

 

(6) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือมีส่วนได้เสียในกิจการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า

 

ข้อ ๔ การประชุมคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

 

(อ่านเพิ่มเติมจากเอกสารด้านล่าง)

ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่   ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่   ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่   ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่   ประกาศระเบียบอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ฉบับใหม่