กทม. แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม ทั่วกรุง 6ปี เพิ่มขึ้น-ลดลงแค่ไหน

05 ก.ย. 2564 | 13:24 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ก.ย. 2564 | 20:52 น.

6ปี  "อัศวิน ขวัญเมือง "ผู้ว่ากทม. แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม ทั่วกรุง เพิ่มขึ้น-ลดลงแค่ไหนเผย ปี2564 ผลกระทบพื้นที่น้ำท่วมลดลง 5โครงการป้องกันน้ำท่วม แล้วเสร็จ รับมือไหว

 

ต้องยอมรับว่าการแก้น้ำรอระบายในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่เรื่องง่าย  พอๆกับวิกฤติจราจร นั่นเป็นเพราะ เมืองขยายตัวมีการก่อสร้างเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งตึกสูงใหญ่ รถไฟฟ้าทำให้ เกิดการกีดขวางทางน้ำ การไหลเวียนของน้ำเปลี่ยนทิศทาง ฝนตกไม่นาน น้ำกลับเอ่อท่วม ประกอบกับระบบท่อเก่า มีขนาดเล็กรองรับไม่พอกับสถานการณ์ปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ดูแลคนกรุงมากว่า6ปี นับตั้งแต่ปี 2559 ได้เร่งรัดจัดทำแผนแก้น้ำท่วมในระยะยาวและลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซากลง   

  • อัพเดท5โครงการป้องกันน้ำท่วม ติดเครื่องยนต์ได้ปีนี้

โดย 2564 กทม.วางแผน แก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว  หลังระบบป้องกันน้ำท่วมแล้วเสร็จ ภายในปีนี้อีก 5 โครงการ   1.สถานีสูบน้ำ 7 แห่ง 2.บ่อสูบน้ำ 5 แห่ง 3.แก้มลิง 2 แห่ง 4.แหล่งเก็บน้ำ 2 แห่ง 5.ท่อทางด่วนระบายน้ำ 1 แห่ง 

 

  • กำหนดเป้าหมายลดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมปี65

นอกจากนี้ปี2565  ยังวางเป้าหมาย ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมให้เหลือ 8 จุดและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมให้ลดลงเหลือ 36 จุดพร้อมทั้ง วางแผน  3 ระดับ ตั้งแต่ ก่อนฝนตก ระหว่างฝนตกและหลังฝนตกโดยก่อนฝนตกให้แจ้งเตือนประชาชนจากระบบเรดาร์ ของ กทม. โดยเฉพาะ ระหว่างฝนตกให้เร่งระบายน้ำในจุดเสี่ยงน้ำท่วม 12 แห่งให้เร็วที่สุด เพราะหากการระบายน้ำเข้าสู่ระบบระบายน้ำหลัก ไม่สามารถทำได้เต็มกำลัง ต้องเร่งระบายน้ำเข้าระบบ ระบายน้ำรองหรือจุดย่อย เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้น

  • 6ปี กำจัดจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง เพิ่มขึ้นหรือลดลง แค่ไหน

ปี 2559 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 19 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 60 จุด

ปี 2560 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 19 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 60 จุด

ปี 2561 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 17 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 53 จุด

ปี 2562 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 14 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 56 จุด

ปี 2563 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 14 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 56 จุด

ปี 2564 มีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 12 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 51 จุด

สำหรับจุดเสี่ยงน้ำท่วมในปี 2563 ลดลง 2 แห่งใน เขตจตุจักร  ถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าตลาดอมรพันธ์และแยกเกษตร และ เขตมีนบุรี ถนนสุวินทวงศ์ ช่วงจากคลองสามวา ถึงคลองแสนแสบ และมองว่าในปีนี้ จะลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมลงอีก12จุด

 

  • จุดเสี่ยงน้ำท่วมไว้ว่าเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม กรณีฝนตกปานกลางถึงหนัก มีที่ไหนบ้าง

 พบว่าอยู่ในเขตพระนคร 9 จุดใน 6 เขต ได้แก่ 

 1.ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ(เขตจตุจักร)

2. ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน(เขตบางซื่อ)

3.ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร(เขตหลักสี่) 

4.ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี(เขตดุสิต)

 5.ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ 6.ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท(เขตราชเทวี)

 7.ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา 8.ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่ 9.ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์(เขตสาทร)

ส่วน ฝั่งธนบุรีมี 3 จุดอยู่ใน 2 เขต

1.ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม(เขตบางขุนเทียน)

2.เพชรเกษม ช่วงจากคลองทวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี 

และ3.ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ช่วงจากถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก(เขตบางแค) 

ในช่วงเดือนกันยายน -ตุลาคมของทุกปี  น้ำเหนือไหลบ่า ผ่านเข้าพื้นที่กทม. ก่อนผลักดันลงแม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย สมทบด้วยน้ำฝนน้ำทะเลหนุน หากระบบป้องกันน้ำท่วมของกทม. รับมือได้เพียง  หลายพื้นที่อาจไม่ต้องจมน้ำซ้ำซากอีกต่อไป