กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เเจ้งว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า คาดว่าจะฉีดให้ประชาชนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป เเต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณวัคซีนที่ส่งเข้ามาในช่วงเวลาดด้วย
แต่หลายคนคงอยากจะทราบไม่น้อยว่าแล้วประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดเข็ม 3 ที่จะมากระตุ้นเป็นอย่างไร
"ฐานเศรษฐกิจ" นำรายงานผลการวิจัยโครงการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ มาให้ได้ติดตามกัน
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า หลังจากรับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 8-12 สัปดาห์ ระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีชนิด IgG เฉลี่ยอยู่ที่ 45-53 หน่วยต่อมิลลิลิตร
วัคซีนโควิดเข็ม 3 ด้วยไฟเซอร์
ขนาดเต็มโดส (0.3 มิลลิลิตร) มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 5,723 หน่วยต่อมิลลิลิตร
รองลงมาเป็นการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดส (0.15 มิลลิลิตร) มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 4,598 หน่วยต่อมิลลิลิตรซึ่งสูงกว่าการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทียบกับ 4-8 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม จะมีระดับแอนติบอดีชนิด IgG เฉลี่ยที่ 1,931.3 หน่วยต่อมิลลิลิตร
วัคซีนโควิดเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า
มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 1,599 หน่วยต่อมิลลิลิตร เทียบกับวัคซีนซิโนฟาร์มที่มีแอนติบอดีขึ้นเฉลี่ย 218.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร
ผลต่อการยั้บยั้งสายพันธุ์เดลต้า
ไฟเซอร์ขนาดเต็มโดสมีระดับไตเตอร์สูงที่สุด (839.9) รองลงมาเป็นวัคซีนไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดส (531.วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (271.2) และวัคซีนซิโนฟาร์ม (61.3)
สรุปว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนซินโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม การใช้วัคซีนไฟเซอร์ฉีดเป็นเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงที่สุด
และครึ่งโดสอาจจะเพียงพอได้ ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อยืนยันผลภูมิคุ้มกันที่ได้จากการศึกษานี้
วัคซีนโควิดเข็ม 3 ฉีดไปแล้วเท่าไหร่
ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3แล้วเกือบ 6 แสนราย โดยให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ซึ่งหากมีการเริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับประชาชนทั่วไป คาดว่าลำดับกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับก่อน คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ และประชาชนทั่วไป