นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม รายงานสรุปผล ตั้งแต่วันที่ 6-12 ก.ย. พบว่ามีข่าวปลอมหรือFake Newsปรากฏในโลกโซเซียลถึง 24 เรื่อง ข่าวบิดเบือน 4 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ 61% เป็นเรื่องนโยบายของรัฐ เช่น การรับเงินเยียวยาของกลุ่มเปราะบาง 3,000 บาท ที่ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ และข่าวรมต.ต่างประเทศ ปฏิเสธวัคซีนบริจาคโมเดอร์นา ขณะที่ 35% เป็นนโยบายการแก้ปัญหาโควิด-19 และสุขภาพ และ 3% เป็นหมวดภัยพิบัติ
“ดีอีเอสได้ทำการตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน(คฝ.) ขับรถพุ่งชนกลุ่มผู้ชุมนุม แล้วมากระทืบซ้ำและมีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตแล้วรวมถึงกรณี เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน(คฝ.) สลายการชุมนุมทำให้รถประชาชน พลิกคว่ำ เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ จัดอยู่ในหมวดข่าวปลอมหรือFakeNews ด้านความสงบและความมั่นคง ซึ่งกระทรวงจะดำเนินการสืบสวนหาผู้ที่ปล่อยข่าวปลอมนี้เพื่อนำมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป”
อย่างไรก็ตามศูนย์ต่อด้านข่าวฯยังพบบัญชีผู้กระทำผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นFacebook จำนวน 7 URLs, Youtube จำนวน 4 URLs และ Twitter จำนวน 4 URLs โดยพบบัญชี KTUK-คนไทยในอังกฤษ , คณะราษฎรไทย ฝรั่งเศส ,ข่าวเด่น TV ที่พบว่ากระทำผิด บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดนี้กำลังตรวจสอบ เพื่อปิดบัญชีต่อไป