เช็คด่วน! น้ำท่วมทางหลวง ผ่านไม่ได้ 21 เส้นทางใน 13 จังหวัด

05 ต.ค. 2564 | 12:41 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ต.ค. 2564 | 18:15 น.

กรมทางหลวง อัพเดทข้อมูลเส้นทางถูกน้ำท่วม - ดินสไลด์ สะพานชำรุด พบ13จังหวัด 21 เส้นทางไม่สามารถผ่านได้ ตรวจสอบเส้นทางทั้งหมดได้ที่นี่

กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 5 ต.ค. 64 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม,ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 13 จังหวัด 30 สายทางรวม 55 แห่ง การจราจรผ่านได้ 34 เส้นทาง ผ่านไม่ได้ 21 เส้นทาง  ดังนี้ 

1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)

  • ทล.2 ท่าพระ-ขอนแก่น (จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 150 ซม.

2. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)

  • ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950  ระดับน้ำสูง 30-35 ซม. ใช้จุดกลับรถต่างระดับ บางใหญ่ที่ กม.18+500 แทน
  • ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000  ระดับน้ำสูง 30-35 ซม. ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ที่ กม.16+600 แทน

3. จ.สระบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้  1 แห่ง)

  • ทล.3020  พระพุทธบาท-หนองโดน ช่วง กม.7+301 (คอสะพานหนองโดนถูกน้ำกัดเซาะชำรุด การจราจรผ่านไม่ได้  ปิดการใช้สะพานทั้งสองฝั่ง

4. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 6 แห่ง)

  •  ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000 – 36+200 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก) ระดับน้ำสูง 40 ซม.
  • ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.33+200 จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.(วัดค่าย) ระดับน้ำสูง 60 ซม.
  • ทล.32 อ่างทอง – ไชโย กม.57+500 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ำสูง 40 ซม.
  •  ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ)   ระดับน้ำสูง 150 ซม. เส้นหลักผ่านได้  จุดกลับรถผ่านไม่ได้ 
  •  ทล. 32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 39+843 (จุดกลับรถวัดดอกไม้)  ระดับน้ำสูง 50-55 ซม. เส้นหลักผ่านได้  จุดกลับรถผ่านไม่ได้ 
  •  ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 43+719 (จุดกลับรถหลวงปู่ทวด) ระดับน้ำสูง 25 ซม.เส้นหลักผ่านได้  จุดกลับรถผ่านไม่ได้ 
     

5. จ.ลพบุรี  (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

  • ทล.1 แยกโรงพยาบาลอานันทมหิดล-โคกสำโรง ช่วง กม.ที่ 168+228-169+328  ระดับน้ำสูง 50 ซม.  ทางเลี่ยง จ.ลพบุรี เลี้ยวที่ กม.170 เข้าวัดหนองคู
  • ทล. 3019  สามแยกโคกกระเทียม-สถานีรถไฟโคกกระเทียม ช่วง กม.ที่ 1+750-กม.1+825 ระดับน้ำสูง 50 ซม. ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน
  • ทล.3024  บ้านหมี่-เขาช่องลม ช่วง กม.ที่ 5+600-กม.7+300  ระดับน้ำสูง 150 ซม. ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน

6. จ.กำแพงเพชร  (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง) 

  • ทล. 1 ตอน โนนปอแดง – ปากดง ช่วง กม.ที่ 419+036 (จุดกลับรถคลองพะยอม) ระดับน้ำสูง 40 ซม. 
  • ทล. 1 ตอน โนนปอแดง – ปากดง ช่วง กม.ที่ 432+030 (จุดกลับรถคลองสุวรรณ) ระดับน้ำสูง 20 ซม. 


7. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

  • ทล. 347 บางกระสั้น–บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 45 ซม.
  • ทล. 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 165 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
  • ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 165 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

8. จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)

  • ทล. 33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 55 ซม. 
  • ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม)  ระดับน้ำสูง 100 ซม.

9. จ.นครสวรรค์  (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง) 

  • ทล. 1 บ้านหว้า – วังไผ่  ช่วง กม.ที่ 339+600 ใต้สะพานเดชาติวงศ์ ระดับน้ำสูง 100 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

กรมทางหลวง ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

 

กรมทางหลวง ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวัง

 

หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1

 

ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้เตรียมพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร สะพานเบลีย์ และจัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งช่วงนี้ยังอยู่ในฤดูฝนจึงกำชับหน่วยงานในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

 

กรณีน้ำท่วมสูงได้ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทาง หลักนำทาง ไฟกะพริบ จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร เร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ วางแท่งแบริเออร์ เรียงกระสอบทราย และกำแพงดินเพื่อชะลอน้ำ กรณีถนนหรือสะพานขาด/ชำรุด ได้เร่งติดตั้งสะพานเบลีย์เชื่อมทาง และกรณีดินไหล่เขาข้างทาง Slide ได้นำเครื่องจักรเขาเกลี่ยดินออกเพื่อให้ประชาชนสัญจรได้สะดวก   

 

นอกจากนี้ยังได้ตั้งจุดให้บริการประชาชน จัดรถ Mobile Service  ช่วยเหลือประชาชนกรณีรถเสียบนทางหลวง  ช่วยขนย้ายประชาชนและสิ่งของไปยังพื้นที่ปลอดภัย จัดรถบรรทุกไว้บริการรับส่งประชาชนในพื้นที่ประสบภัย แจกจ่ายอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค

 

อีกทั้งช่วยล้างทำความสะอาดเก็บกวาดบ้านเรือนเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนในพื้นที่น้ำลดน้ำ และได้กำชับหน่วยงานในสังกัดกรณีเกิดภัยพิบัติให้ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักร ยานพาหนะ กรณีมีการร้องขอจากหน่วยงานอื่นๆ หรือประชาชน  

กรมทางหลวงช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนในพื้นที่น้ำลดน้ำ