วัคซีนสูตรไขว้ ดีไหมหลายคนมีคำถาม ต้องบอกก่อนว่าวัคซีนสูตรไขว้ ทางคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด (ศปก.สธ.) ได้รับคำแนะนำจากคณะอนุกรรมกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการนำข้อมูลทางวิชาการใหม่ ๆ ทั้งผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ และการศึกษาในประเทศไทยมาพิจารณาสรุปสูตรวัคซีนไขว้ที่ฉีดให้แก่ประชาชนคนไทย
ส่วนเหตุผลก็คือ วัคซีนที่ได้รับมาแต่ละชนิดมีจำนวนไม่เท่ากันและอาจไม่เพียงพอต่อการฉีดครบ 2 โดส จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนสูตรผสมหรือฉีดบูสเข็ม 3 ด้วยวัคซีนต่างชนิดกับ 2 เข็มแรก รงมทั้งสายพันธุ์ต่างๆก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว
วัคซีนสูตรไขว้ มี 2 สูตร
คาดว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนได้ในเดือนต.ค.2564 หลังจากที่มีวัคซีนไฟเซอร์เพียงพอแล้วในประเทศ (ใน 3 เดือนหลังตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค. 2564 จะมีไฟเซอร์เข้าไทยเดือนละ 10 ล้านโดส)
สูตร 1 เข็มที่ 1 ซิโนแวค เข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ใช้ในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกกลุ่ม
สูตร 2 เข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4-12 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายหลักผู้มีอายุ18 ปีขึ้นไปในทุกกลุ่ม
วันที่ 27 ก.ย.64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า ในที่ประชุมมีการหารือโดยอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่า คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพูดถึงเรื่องการใช้วัคซีนซิโนฟาร์มสูตรไขว้ โดยอาจจะใช้หลักการเดียวกันกับวัคซีนซิโนแวค ดังนี้
วัคซีนซิโนฟาร์ม+วัคซีนไฟเซอร์ ระยะห่างเข็ม 3 สัปดาห์
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มสูตรไขว้ ยังไม่ได้ถูกกำหนดเป็นสูตรหลักของประเทศ การใช้สูตรดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนอนุญาตการใช้วัคซีนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามความสมัครใจของผู้รับวัคซีน และดุลยพินิจของผู้ให้บริการ
ปัจจุบันประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดได้ครอบคลุม 60% ของประชากรได้ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ หากจำแนกตามยี่ห้อวัคซีนพบว่า แอสตร้าเซนเนก้าฉีดมากสุดถึง 26 ล้านโดส รองมาเป็นซิโนแวคกว่า 20 ล้านโดส ซิโนฟาร์ม 9 ล้านโดส และไฟเซอร์ 1.7 ล้านโดส
ส่วนไฟเซอร์ลอตที่ไทยซื้อ 30 ล้านโดส อยู่ระหว่างทยอยเข้ามา โดย ลอตแรก 2 ล้านโดส มาปลายเดือน ก.ย. ขณะที่ลอตสองจำนวน 1.5 ล้านโดส ได้เข้ามา 6 ต.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่งจะกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียน เพียงแต่ระยะแรกจะไปในแต่ ร.ร. เพียง 40% เท่านั้น โดย 13 ต.ค. จะนำเข้ามาอีก 1.5 ล้านโดส
ในกรณีวัคซีนสูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้า ตามด้วยไฟเซอร์ จะได้ใช้หรือไม่นั้น ยังคงต้องรอให้ที่ประชุม EOC ของ สธ.อนุมัติในวันที่ 11 ต.ค. นี้ เหตุผลหลักคือมียอดวัคซีนไฟเซอร์เข้ามามากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมและแอสตร้าฯ กับ ไฟเซอร์ ก็มีจำนวนมากพอ ๆ กัน
ส่วนซิโนแวคที่เหลือ ใช้ฉีดเดือนตุลาคมนี้ก็คงหมด ส่วนผู้ที่ฉีดแอสตร้าฯ ครบ 2 เข็ม นั้น ในต่างประเทศยังไม่มีการฉีดบูสเตอร์ ดังนั้น ต้องรออีกระยะหนึ่ง เนื่องจากภูมิอยู่ได้นานกว่าฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มโรคประจำตัวก็ได้ฉีด 2 เข็ม เพื่อป้องกันติดโควิดแล้วจะอาการรุนแรง
วัคซีนสูตรไขว้ มี 2 สูตร ใครได้ฉีดบ้าง
1.สูตรสอง เข็มที่1 แอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่2 ไฟเซอร์ ผู้สูงอายุที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 ไปก่อนหน้านี้ก็ รวมถึงประชาชนที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 1
2.ผู้ป่วยโควิด ที่หายดีแล้ว 1-3 เดือน ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ เป็นผู้ไม่เคยได้รับไฟเซอร์มาก่อน ได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม หรือได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว แต่เข็ม 2 ยังไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อนติดเชื้อ
ผลศึกษาฉีดวัคซีนไขว้ภูมิสูงกว่าฉีดชนิดเดียวกันหรือไม่
การฉีดวัคซีนไขว้ด้วยซิโนแวค เข็มที่ 1 ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการศึกษาวิจัย พบว่าภูมิคุ้มกันขึ้นสูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มที่จะต้องฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และต้องรอให้ภูมิคุ้มกันขึ้นในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้อีก 2 สัปดาห์รวมเป็น 14 สัปดาห์
ความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนสูตรไขว้แต่ละสูตร
1.วัคซีนสูตรผสม ซิโนแวค+ แอสตร้าเซนเนก้า ผ่านการยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขว่าหลังจากเริ่มต้นทยอยฉีดนั้นยังไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง
2.ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า กระตุ้นภูมิในระดับสูงเร็วมากขึ้น เพราะใช้ระยะห่างระหว่างเข็มแรกและเข็มสองเพียง 3-4 สัปดาห์ ช่วยกระตุ้นภูมิได้สูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า2 เข็ม
3.แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ คาดว่าคนไทยจะได้ฉีดกันในเดือนต.ค.นี้ จากคณะกรรมการวัคซีนแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (STIKO) ระบุว่า จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ดี
4.มีหลายประเทศในแถบยุโรปที่เปลี่ยนจากการฉีด แอสตร้าเซนเนก้า2 เข็ม มาฉีดวัคซีน mRNA ให้กับประชาชนเป็นเข็มที่ 2 แทน ด้วยเหตุผลความกังวลเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน
แผนการจัดวัคซีนโควิด ประเทศไทยปี 2564
วัคซีนโควิดที่จะเข้ามาทั้งปี 2564 จำนวน 178.2 ล้านโดส
เดือนกันยายน
มีเข้ามาแล้วทั้งหมดรวมแล้ววรรคซีนที่สั่งซื้อและการบริจาค 16.3 ล้านโดส และมีวัคซีนซิโนฟาร์มทั้งซื้อและรับบริจาคเข้ามาอีก 10 ล้านโดส
เดือนตุลาคม
จะมีวัคซีนซิโนแว็กซ์เข้ามาอีก 6 ล้านโดส วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 16 ล้านโดส วัคซีนไฟเซอร์ 8 ล้านโดส วัคซีนซิโนฟาร์ม 6 ล้านโดส
เดือนพฤศจิกายน
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 13 ล้านโดส วัคซีนไฟเซอร์ 10 ล้านโดส วัคซีนซิโนฟาร์ม 12.5 ล้านโดส
เดือนธันวาคม
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 14 ล้านโดส วัคซีนไฟเซอร์ 10 ล้านโดส วัคซีนซิโนฟาร์ม 12.5 ล้านโดส วัคซีนโมเดอร์นา 2 ล้านโดส