นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบให้หน่วยงานในสังกัดช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยตามแผนการดำเนินการป้องกัน การฟื้นฟู และการเยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติพร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งกำชับให้เร่งสำรวจ ซ่อมแซม ฟื้นฟูเส้นทางที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ประชาชนสัญจรได้อย่างสะดวกปลอดภัยโดยเร็ว สำหรับเส้นทางที่ยังไม่สามารถเปิดสัญจรได้ขอให้ติดตั้งป้ายเตือนและป้ายแนะนำเส้นทาง รวมทั้งแนะนำเส้นทางเลี่ยง พร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบอย่างทั่วถึง
โดยภาพรวมในหลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง การจราจรสามารถกลับมาสัญจรได้ตามปกติ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่เนื่องมีฝนตกต่อเนื่อง จึงมอบให้หน่วยงานเร่งระบายน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนในการเดินทาง
สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 14 จังหวัด ( 32 สายทาง 56 แห่ง) โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น 2) จ.มหาสารคาม 3) จ.นครราชสีมา 4) จ.ชัยภูมิ 5) จ.ชัยนาท 6) จ.ลพบุรี 7) จ.นนทบุรี จ.อ่างทอง 9) จ.พระนครศรีอยุธยา 10) จ.สุพรรณบุรี 11) จ.อุทัยธานี 12) จ.ปราจีนบุรี 13) จ.สระแก้ว 14) จ.ตาก
โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 5 สายทาง ได้แก่
◾ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 200 ซม. ◾ ทล.213 มหาสารคาม-หนองขอน ระดับน้ำสูง 210 ซม. ◾ ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 125 ซม. ◾ ทล. 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ระดับน้ำสูง 175 ซม. ◾ ทล.340 สาลี-สุพรรณ ระดับน้ำสูง 125 ซม. ซึ่งมีการจราจรผ่านไม่ได้ 14 แห่ง ดังนี้
◾️1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 200 ซม.
- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
◾️2. จ.มหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล. 213 มหาสารคาม – หนองขอน ช่วง กม.ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 210 ซม.
◾3. จ.ชัยภูมิ (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ กม. 185+000-185+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) ระดับน้ำสูง 20-60 ซม.
- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ กม. 188+000-188+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) ระดับน้ำสูง 10-60 ซม.
- ทล.2484 ทางเลี่ยงเมืองภูเขียว กม.7+050-7+150 ระดับน้ำสูง 30-50 ซม.
◾️4.จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรก) ระดับน้ำสูง 30-35 ซม.
- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก) ระดับน้ำสูง 30-40 ซม.
- ทล. 307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี ช่วง กม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 65 ซม.
◾️5.จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 125 ซม.
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ำสูง 35 ซม.
◾️6จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล. 347 บางกระสั้น – บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 15 ซม.
- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม.
- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม.
◾️7 จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล. 33 สุพรรณบุรี – นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 85 ซม.
- ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี ช่วง กม.ที่ 59+674 (สะพานเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 125 ซม.
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1