กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศของประเทศไทย จากค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี ( 2534-2563)โดยแบ่งออกเป็นรายเดือนตั้งแต่ตุลาคม ,พฤศจิกายน และธันวาคม พร้อมพยากรณ์อุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ย -ต่ำสุดเฉลี่ย (องศาเซลเซียส) และเปรียบเทียบกับค่าปกติ ใครอยากรู้หนาวนี้
เดือนตุลาคม
- เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว บริเวณประเทศไทยตอนบนฝนและอุณหภูมิจะลดลงและเริ่มมีอากาศเย็นตั้งแต่กลางเดือนเป็นต้นไป เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนซึ่งเป็นมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ส่วนร่องความกดอากาศต่่ำที่พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกจะเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณ
- ภาคใต้และอ่าวไทยในช่วงครึ่งหลังของเดือน ทําให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นและอาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออก และต่อเนื่องลงมาจนถึงอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้ได้
เดือนพฤศจิกายน
- ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนน้อยลงมากและอากาศเย็นตลอดเดือน จากอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและมีกําลังแรงเป็นระยะๆ ซึ่งจะทําให้อุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวได้ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุก โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้และอ่าวไทย
เดือนธันวาคม
- ปกติบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตลอดเดือนและมีกําลังแรงเป็นระยะๆ ทําให้อุณหภูมิในประเทศไทยตอนบนลดลงและมีอากาศหนาวเย็นทั่วไปโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวจัดได้
- สําหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกส่วนมากในช่วงครึ่งแรกของเดือนโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคเนื่องจากมีอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย อย่างไรก็ตามในเดือนนี้อาจมีพายุหมุนเขตร้อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยได้โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เผยข้อควรระวังสำหรับสภาพอากาศในช่วงตุลาคม - ธันวาคม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เดือนตุลาคม
- บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับในบางช่วงจะมีน้ําทะเลหนุนสูงซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางแห่ง
เดือนพฤศจิกายน
- มีโอกาสสูงที่พายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้ามาใกล้ประเทศไทย หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้ โดยจะเคลื่อนตัวผ่านบริเวณปลายแหลมญวน และเข้าสู่อ่าวไทย ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเพิ่มขึ้น อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในบางแห่ง
เดือนธันวาคม
- อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนจากประเทศพม่า ผ่านประเทศไทยตอนบน ทําให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง และอาจมีลูกเห็บตกลงมาได้ ประชาชนจึงควรติดตามข่าวพยากรณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
นอกจากนั้นแล้วกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ย -ต่ำสุดเฉลี่ย (องศาเซลเซียส) และเปรียบเทียบกับค่าปกติ
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้เปิดเผยบริเวณที่มีโอกาสเกิดอากาศหนาว-อากาศหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือน มกราคม 2565 โดยมี 7 จังหวัดที่คาดว่าจะหนาวจัด (อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส) ได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, น่าน, เลย, สกลนคร และ นครพนม