ลอยกระทง 2564 ล่าสุด ศบค.ออกมาย้ำอีกในการแถลงข่าวสถานการณ์ประจำวัน เมื่อวันที่ 10 พ.ย.64 ว่า มีมติให้จัดงานเทศกาลลอยกระทงได้ในทุกพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- งานขนาดเล็ก ระดับบุคคล ครอบครัว สามารถดำเนินการได้ โดยยึดถือ มาตรการ Universal prevention หรือ DMHTT ตามที่สาธารณสุขกำหนด
- การจัดงานเทศกาลขนาดใหญ่ (Event) ได้แก่ งานลอยกระทงที่จัดโดย จังหวัดสุโขทัย หรือเชียงใหม่ โคมลอยยี่เป็ง และ กทม. เป็นต้น ให้ขอความเห็นชอบจาก คกก.โรคติดต่อจังหวัด/ กทม. และให้ คกก.โรคติดต่อจังหวัด/ กทม. ดูแล กำกับการจัดงานในภาพรวมในพื้นที่ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ให้ยึดถือแนวทางและมาตรการที่รณรงค์ ที่ วธ. สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หารือร่วมกัน แล้วได้กำหนดแนวปฏิบัตินำเสนอ ศบค.เห็นชอบแล้ว เมื่อ 29 ต.ค.64
วธ.ออกแนวทางปฏิบัติ การจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง 3 ด้าน
กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ออกแนวทางปฏิบัติ การจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้
แนวทางปฏิบัติการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง สำหรับผู้จัดงานหรือเจ้าหน้าที่
- จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันโรคส่วนบุคคลสำหรับผู้จัดงานหรือเจ้าหน้าที่
- ผู้จัดงานหรือเจ้าหน้าที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
- ผู้จัดงานหรือเจ้าหน้าที่ในงานทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- สร้างการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์/สร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติด้านมาตรการป้องกันควบคุมโรค
- เพิ่มการติดต่อสื่อสารระหว่างปฏิบัติงานผ่านอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์
แนวทางปฏิบัติการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง สำหรับผู้ร่วมงาน
- ควบคุมจำนวนผู้ร่วมงานไม่ให้แออัด
- ผู้ร่วมงานทุกคนต้องสวมใสหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- ผู้ร่วมงานทุกคนจะต้องล้างมือก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
- จัดให้มีจุดลงทะเบียนก่อนเข้าและออกสถานที่ ,สแกน QR CODE ไทยชนะ
- ภายในงานควรเว้นระยะห่างทางสังคมในทุกกิจกรรม
- กำหนดระยะห่างของการนั่งชมการแสดง
แนวทางปฏิบัติการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง ด้านสิ่งแวดล้อมปลอดภัย
- มีจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ
- มีจุดบริการล้างมือ
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆทั้งก่อนและหลังการจัดงาน
- หากมีการแสดงในงานให้มีการทำความสะอาดก่อนและหลังการแสดงทุกรอบ
- จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่มีฝาปิดมิดชิด
- ทำความสะอาดห้องสุขาให้สะอาดทุก 1 - 2 ชั่วโมง
ที่มา : กองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม , ศูนย์ข้อมูล COVID-19