สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี ) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 185 ราย ยอดป่วยสะสม 104,844 ราย รักษาหายเพิ่ม 275 ราย รักษาหายสะสม 101,557 ราย ยังรักษาเหลือ 2,544 ราย เสียชีวิตวันนี้ 2 ราย เสียชีวิตสะสม 743 ราย
การติดเชื้อรายใหม่โควิด-19 มาจาก
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 13 ราย สะสม 4,840 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,784 ราย
2. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อ.สัตหีบ 6 ราย สะสม 1,591 ราย
2.1 นักเรียนจ่าทหารเรือ 5 ราย
2.2 ข้าราชการทหารเรือ 1 ราย
3. Cluster กรมทหารราบที่ 112 กองพันที่ 2 อ.เกาะจันทร์ 6 ราย สะสม 6 ราย
4. Cluster บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด อ.ศรีราชา 9 ราย สะสม 14 ราย
5. Cluster บริษัท หงส์ยิพ ออโต้พาร์ท จำกัด อ.เมืองชลบุรี 3 ราย สะสม 5 ราย
6. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 1 ราย
7. บุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย
8. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด
8.1 กทม. 2 ราย
8.2 จังหวัดระยอง 1 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
9.1 ในครอบครัว 56 ราย
9.2 จากสถานที่ทำงาน 23 ราย
9.3 บุคคลใกล้ชิด 2 ราย
9.4 ร่วมวงสังสรรค์ 4 ราย
10. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 16 ราย
11. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 42 ราย
6 แสนรายยังไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19
ทั้งนี้ผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ พบเป็นผู้อาการรุนแรงใส่ท่อช่วยหายใจ 1 ราย และปอดอักเสบ 3 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีนทุกราย เป็นผู้สูงอายุ 3 ราย สัมผัสคนในครอบครัวที่ติดโควิด-19 วัคซีนช่วยลดความรุนแรงและช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ ขอความร่วมมือชาวชลบุรีเร่งรัดการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ฉีดวัคซีนจะมีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น คือกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ ในกลุ่มนี้ยังมีผู้ไม่ได้ฉีดวัคซีนอีกประมาณ 9 หมื่นคน
ชาวชลบุรีมีที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนประมาณ 6 แสนคน และฉีดวัคซีน 1 เข็ม ประมาณ 2 แสน คน รวม 8 แสนคน ในเดือน พ.ย. ณ ขณะนี้ติดเชื้อ 2,648 คน และ ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 1.55 ล้านคน ในเดือน พ.ย ณ ขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีน 2 เข็ม 777 คน
รายละเอียดผู้เสียชีวิต
ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 รายของวันนี้ (เพศหญิงอายุ 68 ปี และ เพศชายอายุ 76 ปี) เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และการมีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง และทั้งสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น