1 ธ.ค. 64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 198 ราย ยอดป่วยสะสม 107,837 ราย รักษาหายเพิ่ม 176 ราย รักษาหายสะสม 104,966 ราย กำลังรักษา 2,110 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เสียชีวิติสะสม 761 ราย
การติดเชื้อโควิด-19 มีที่มา
1. Cluster เขตพื้นที่ทหารเกณฑ์ อ.สัตหีบ (ทหารเกณฑ์) 10 ราย สะสม 1,796 ราย มีการระบาดอย่างต่อเนื่องยังควบคุมไม่ได้
2. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 6 ราย สะสม 5,100 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,829 ราย
3. Cluster กลุ่ม LIVEสด โชว์เต้นพัทยา อ.บางละมุง 6 ราย
4. Cluster บริษัทซิเลซติกา (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 5 ราย สะสม 30 ราย
5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 3 ราย
6. บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย
7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
7.1 ในครอบครัว 53 ราย
7.2 จากสถานที่ทำงาน 41 ราย
7.3 บุคคลใกล้ชิด 7 ราย
7.4 ร่วมวงสังสรรค์ 1 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 12 ราย
9. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 52 ราย
อัพเดทการฉีดวัคซีนโควิด-19
ณ 1 ธันวาคม 2564 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,682,636 คน คิดเป็น 72% ของจำนวนประชากร ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 1,367 คน ปอดอักเสบ 11 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 2 คน เสียชีวิต 4 คน
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 155,600 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 490,834 คน รวม 646,434 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 674 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนติดเชื้อ 4,473 คน ปอดอักเสบ 54 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 7 คน เสียชีวิต 30 คน
รายละเอียดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19
สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 3 ราย (พบประวัติการรับวัคซีน 2 ราย และไม่พบประวัติการรับวัคซีน 1 ราย) และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (เพศชายอายุ 71 ปี) มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สุงอายุและไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น