รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ไม่มีอะไรอยู่ในมือและไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้ก็คงต้องฉีดไปก่อน ขัดตาทัพ
วัคซีนเชื้อตายมีส่วนประกอบไส้ใน ของไวรัส และ “หวัง” จะเป็นตัวร่วม ที่สร้างภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ต่างๆจนถึง โอไมครอน
ซึ่งอาจไม่เป็นความจริงตามที่หว้ง ทั้งนี้ เนื่องจาก
1.วัคซีนเชื้อตายของจีนเอง ในการศึกษาของประเทศต่างๆ และในประเทศผู้ผลิต ก็ ข้ามสายพันธุ์จีนไปสู้เดลตา ได้บ้างแต่ไม่เก่งเท่ายี่ห้ออื่นๆในการลดการติดการตาย
และถ้าพิจารณากับการจะไปสู้กับโอไมครอน ที่มีการปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมในเกือบทุกท่อนของยีน อาจจะเป็นการยากพอสมควร
2.และการไขว้ ถ้าเริ่มด้วยซิโนแว็กหรือซิโนฟาร์ม ต้อง “2 เข็มก่อน” และจีงต่อด้วย AZ หรือ PZ จึงจะสู้กับ เดลตาได้ เก่งขึ้นมาก แต่ถ้า ใช้หนึ่งเข็ม และไขว้ จะไม่ค่อยเก่งอยู่แล้ว
3.และ SV SV AZ หลัง 3 เดือน สู้ เบต้าไม่ได้เลย และสู้เดลตาลดลงมาก
SV SV PZ หลังสามเดือนพอสู้เบต้าได้บ้างแต่จำกัด แต่กับเดลตาก็ยังลดลงด้วย
ดังนั้นการพิจารณาเอาวัคซีนควบรวมจากเชื้อตายที่มีหลายส่วนประกอบกัน คู่กับวัคซีนที่มีแต่ส่วนหนาม spike RBD อาจจะได้ผลไม่เท่าที่คิดเมื่อเจอกับ ไวรัสหลากหลายอย่างโอไมครอน
แต่โดยที่ไม่มีอะไรอยู่ในมือและไม่มีวัคซีนที่ดีกว่านี้ก็คงต้องฉีดไปก่อน ขัดตาทัพ
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 1 ธันวาคม 2564 "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 4,886 ราย
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,091,895 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 43 ราย หายป่วยเพิ่ม 6,326 ราย กำลังรักษา 74,190 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 1,998,328 ราย