หลังจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช.เห็นชอบ (ร่าง)ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ.2564 ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนว่า สิทธิบัตรทองขะครอบคลุมค่าใช้จ่ายบริการใดบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม เบิกไม่ได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ส่วนบริการสาธารณสุขที่ครอบคลุมบริการที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
2. การตรวจวินิจฉัยโรค
3. การตรวจและรับฝากครรภ์
4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
6. การทำคลอด
7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ
8. การบริบาลทารกแรกเกิด
9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
14. บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
15.บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
16.รักษาภาวะมีบุตรยากและการผสมเทียม ยกเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy)
การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน เกินกว่า 180 วัน
ส่วนบริการสาธารณสุขที่ไม่อยู่ในประเภทและขอบเขตของบริการและไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายได้ กล่าวคือ เบิกไม่ได้ มีดังนี้
1. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
2. การตรวจวินิจฉัยและการรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
3. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
4. การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฎตามบัญชีแนบท้าย
5. การบริการทางการแพทย์อื่นตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
ส่วนกรณีการป้องกันไม่ให้เกิด Extra Billing ประกาศฉบับนี้ได้มีการเพิ่มความชัดเจนในข้อที่ระบุไว้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิที่เข้ารับบริการตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่กำหนดในประกาศนี้ จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ยกเว้นเฉพาะกรณี
1. เป็นการร่วมจ่ายค่าบริการตามประกาศฯ ว่าด้วยการร่วมจ่าย
2. เป็นการบริการที่เป็นข้อยกเว้น ไม่คุ้มครองตามที่กำหนด
3. เป็นการเข้ารับบริการที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการส่งต่อ หรือไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน