28 ธ.ค.64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 214 ราย เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 2 ราย ยอดป่วยสะสม 112,220 ราย รักษาหายเพิ่ม 164 ราย ยอดรักษาหายสะสม 109,432 ราย กำลังรักษา 1,998 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 790 ราย
รายละเอียดการติดเชื้อโควิด-19
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 14 ราย สะสม 5,466 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,875 ราย
2. Cluster บริษัท ฮอนด้า ล็อค ไทย จำกัด อ.เมืองชลบุรี 13 ราย สะสม 15 ราย
3. Cluster บริษัท ศิริไพบูลย์ พัฒนาการ จำกัด อ.บางละมุง 4 ราย สะสม 4 ราย
4. Cluster บริษัท ซันโกร ดีเวลลอปเปอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 3 ราย สะสม 3 ราย
5. Cluster บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 3 ราย สะสม 9 ราย
6. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 7 ราย
7. บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย
8. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด
8.1 กทม. 1 ราย
8.2 จังหวัดเชียงใหม่ 1 ราย
8.3 จังหวัดลพบุรี 1 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
9.1 ในครอบครัว 48 ราย
9.2 จากสถานที่ทำงาน 35 ราย
9.3 บุคคลใกล้ชิด 5 ราย
9.4 ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย
10. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 18 ราย
11. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 57 ราย
อัพเดทยอดฉีดวัคซีนโควิด-19
ณ 28 ธันวาคม 2564 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,780,145 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 2,492 คน ปอดอักเสบ 26 คน และเสียชีวิต 6 คน
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 127,545 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 422,383 คน รวม 549,928 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 261 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 1,828 คน ปอดอักเสบ 40 คน ใส่ท่อหายใจ 2 ราย และเสียชีวิต 23 คน
รายละเอียดผู้เสียชีวิตจากโควิด
สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 2 ราย (ได้รับวัคซีนครบสองเข็มทั้งสองราย) และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 ราย (อายุเฉลี่ย 75 ปี) มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
(ไม่พบประวัติการรับวัคซีนทั้งสองราย) ดั้งนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น