ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า
โควิด-19 (Covid-19) โอมิครอน (Omicron) หลังจากที่มีการระบาดมาแล้ว 2 เดือน
มีข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับ โอมิครอน เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว
โอมิครอน ระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก พบแล้วมากกว่า 140 ประเทศ หรือจะเรียกว่าทั่วโลกก็ได้ แสดงถึงการขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา
โอมิครอน ติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นที่ผ่านมา
ผู้ติดเชื้อ โอมิครอน มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา อัตราผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่า และภาพรวมอัตราการตายของ โอมิครอน ก็ลดลงกว่าสายพันธุ์ หรือที่มีการระบาดก่อนหน้านี้
การตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT-PCR หรือการตรวจอย่างรวดเร็วด้วย ATK ไม่ได้เปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพ เพราะ RT PCR
ส่วนมากเราใช้ยีน N และ RdRp ที่มีความคงที่ ส่วน RDT ก็เป็นการตรวจ nucleocapsid ไม่ใช่เป็นการตรวจหา spike protein ซึ่ง ส่วนของ nucleocapsid มีความเสถียรมากกว่า
โอมิครอน หลบหลีกภูมิต้านทานได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน
ไม่ว่าจะเป็น AZ หรือ mRNA ส่วนใหญ่มีเป้าหมายอยู่ที่ spike protein ที่ โอมิครอน มีการเปลี่ยนแปลงมาก จึงทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนที่ผ่านมาลดลง
ประกอบกับ ระยะฟักตัวของโรคสั้น จึงต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูงอยู่ตลอดเวลาในการป้องกันการติดโรค เมื่อภูมิต้านทานลดลงก็ไม่สามารถที่จะป้องกันได้
แต่กระบวนการกำจัด หรือหายจากโรค อาศัยระบบภูมิต้านทานส่วนอื่นด้วย จึงทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน มีอาการของโรคน้อยลง และจะหายจากโรคได้เร็วกว่า
ทุกครั้งที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อสุขภาพร่างกาย เศรษฐกิจ สังคมและจิตใจ ผลกระทบทางจิตใจ ในบางครั้งมีความสำคัญมากกว่าทางร่างกายเสียอีก
สังคมปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสาร ถึงกันได้อย่างรวดเร็วมาก มีการสื่อทางสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ในบางข่าวจะมีความจริงเพียงเล็กน้อยและใส่ความเห็นเป็นจำนวนมาก
ความเห็นจะมีแนวโน้มเอียง หรือมีอคติได้ ข้อมูลที่ได้จากสื่อสังคม จะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยวันที่ 12 มกราคม 2565 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า
วันนี้ 12 มกราคม 2565