ข่าวปลอม! บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเซ็กส์เสื่อม เครือข่ายฯโวยลั่นให้ข้อมูลผิด

24 ม.ค. 2565 | 06:17 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ม.ค. 2565 | 13:17 น.

ข่าวปลอม บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเซ็กส์เสื่อม เครือข่ายฯไวยลั่นให้ข้อมูลผิดอันตรายมากกว่า แพทย์ออสเตรเลียชี้การวิจัยไม่ได้แบ่งกลุ่มผู้ทำการศึกษาว่าเป็นผู้สูบบุหรี่มาก่อนหรือไม่

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ลาขาดควันยาสูบ หรือ ECST และแอดมินเพจ บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร เปิดเผยว่า ผลวิจัยที่สรุปว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ถูกต้อง

 

 

โดย ดร.คอลิน เมนเดลซอห์น แพทย์ชาวออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ ชี้แจงว่าความจริงแล้วอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากผู้ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน 

 

 

แต่งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้มีการแยกกลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่สูบบุหรี่อย่างเดียว คนที่เลิกสูบบุหรี่แล้วเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า และคนที่ใช้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้การสรุปผลมีความคลาดเคลื่อนได้

 

 

ทั้งนี้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ต้องการผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนทางเลือกถูกกฎหมาย

 

 

ซึ่งข้อมูลงานวิจัยและการศึกษาจากต่างประเทศเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณากฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 

ดังนั้น จึงต้องการเรียกร้องให้หน่วยงานรณรงค์ต่อต้านบุหรี่มีความรับผิดชอบมากกว่านี้ในการเผยแพร่ข้อมูล เพราะเข้าใจว่าทางกระทรวง ดีอีเอสเอง ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเฟคนิวส์ที่หลอกลวงและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

 

 

 

“ที่เลิกสูบบุหรี่แล้วเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะกังวลต่อสุขภาพของตัวเองและคนใกล้ชิด จึงเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีอันตรายน้อยกว่า"

 

 

แต่การที่ฝ่ายรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ด่วนสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เซ็กส์เสื่อม และเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาจะสร้างความเข้าใจผิดในสังคมได้ ทำให้คนที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในปัจจุบันเกิดความหวาดกลัว

 

 

 

บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเซ็กส์เสื่อม ไม่ถูกต้อง

 

 

 

และอาจจะหันกลับไปสูบบุหรี่แทน ซึ่งเท่ากับผลักไสให้พวกเราต้องกลับมารับกรรมกับควันบุหรี่ที่มีอันตรายอีกครั้ง” 

 

 

 

ดร. เมนเดลซอห์น ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างแผนควบคุมบุหรี่แห่งชาติของออสเตรเลีย ระบุว่า การศึกษานี้สอบถามผู้ชายจำนวน 13,700 คนซึ่งมีเพียง 4.8% เท่านั้นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 

แต่การศึกษานี้มีข้อที่กังขาหลายประการ อันดับแรก รูปแบบการศึกษาที่เป็น cross sectional study ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้เป็นการทำการทดลองเพื่อหาความสัมพันธ์กัน 

 

 

อีกทั้งไม่มีการเปรียบเทียบอัตราการเกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) ในกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่เคยสูบบุหรี่ กับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน เพื่อดูว่าแนวโน้มการเกิดอาการ ED ที่มากขึ้นนั้น  ที่แท้แล้วมาจากการสูบบุหรี่หรือเปล่า

 

 

และอีกประการคือการศึกษายังพบว่าอัตราการเกิด ED ในผู้ชายที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่มีสัดส่วนที่พอกัน ซึ่งน่าแปลกใจ เพราะเป็นทราบกันดีอยู่แล้วว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ