ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความว่า
โควิด-19 (Covid-19) การตรวจ ATK กับสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)
หมอยง ระบุว่า มีคำถามมากว่า การใช้ ATK เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนมาเป็น "โอมิครอน" จะมีผลต่อผลการตรวจ โอมิเครอนหรือไม่ ความไวจะลดลงหรือไม่
ต้องทำความเข้าใจในน้ำยาที่ใช้ตรวจ ATK จะตรวจในส่วนของ nucleocapsid ไม่ใช่ตรวจหา spike โปรตีน ของไวรัส
การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสจากอัลฟ่า เดลตา โอมิครอน จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วน spike โปรตีน ในการแยกสายพันธุ์ ส่วนของ nucleocapsid จะไม่เปลี่ยนแปลง
การใช้ ATK ตรวจว่ามีไวรัสหรือไม่ เป็นการตรวจว่ามี nucleocapsid โปรตีน จึง "ไม่มี" ผลกับการตรวจในสายพันธุ์ใหม่ เช่น โอมิครอน
ATK ที่ใช้อยู่เดิม จึงยังใช้ได้อยู่ แม่จะเป็นสายพันธ์ใหม่โอมิครอน
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 10,398 ราย
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 294,434 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย หายป่วยเพิ่ม 8,922 ราย กำลังรักษา 94,243 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 232,812 ราย