นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่สธ.(ศปค.) 0248/44 เรื่อง การเตรียมการสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด , ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ,โรงพยาบาลทั่วไป โดยระบุว่า
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดทั่วโลกที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สำหรับในประเทศไทย พบว่า ขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพื่อให้การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด ขอให้ดำเนินการ ดังนี้
1.เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร เตียง บุคลากรทางการแพทย์ และระบบการดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) รวมทั้งการรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Admit) ในกรณีที่มีอาการมากและรุนแรง
2. ประชาสัมพันธ์หมายเลขโทรศัพท์ของจังหวัด และโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจที่จะเข้าถึงระบบบริการ เมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3. เร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด19 เข็มกระตุ้น หรือบูสเตอร์โดส ในประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนลดความรุนแรงจากการติดโควิด
4.สื่อสารให้ประชาชนป้องกันตนเองและครอบครัวด้วยมาตรการ Universal Prevention และ VUCA และสร้างการรับรู้การดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดโควิด เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้
อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่ยังคงสูงขึ้นทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นจะต้องยกระดับเตือนภัยโควิด จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 โดยมีมาตรการดังนี้