การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิธีตรวจ atk แบบน้ำลาย กลับมาได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการแยงเข้าทางจมูกในสถานการณ์ที่สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) กำลังระบาดอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" สืบค้นข้อมูลดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน ประกอบด้วย
สำหรับชุดตรวจ ATK แบบน้ำลายเป็นการตรวจเบื้องต้นมีความคล้ายคลึงกับการตรวจ ATK แบบ Swab แตกต่างตรงวิธีการตรวจที่จะตรวจผ่านการเก็บตัวอย่างน้ำลาย
ก่อนทำการตรวจต้องงดน้ำงดอาหาร และงดทำความสะอาดช่องปาก 30 นาทีก่อนตรวจ ควรศึกษาข้อมูลชุดตรวจน้ำลายให้ละเอียดก่อนลงมือตรวจจริง
โดยชุดตรวจ ATK ที่ตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ผ่านน้ำลาย มีประสิทธิภาพการตรวจเทียบเท่ากับชุดตรวจ ATK แบบ Swab สามารถทำได้ด้วยตนเองเช่นกัน
อย่างไรก็ตามผลการตรวจที่ได้จากการตรวจแบบน้ำลายยังต้องยืนยันด้วยการตรวจแบบ RT-PCR เพื่อความแม่นยำ
และหากกังวลเรื่องผลลัพธ์ที่อาจคลาดเคลื่อนอาจเลือกใช้การตรวจแบบ ATK Professional use ที่ทำการตรวจโดยแพทย์
การใช้งานชุดตรวจ ATK แบบน้ำลายอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้งาน ดังนั้นควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียดก่อนใช้งานจริง เบื้องต้นการใช้งานชุดตรวจ ATK แบบน้ำลายมีขั้นตอนดังนี้
อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังการใช้ชุดตรวจ ATK แบบน้ำลาย ได้แก่
การตรวจ ATK แบบน้ำลายมีความสะดวกในการตรวจมากกว่าจากขั้นตอนการเก็บน้ำลายเพื่อใช้ในการตรวจมีความง่ายกว่าการ Swab จึงเหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ไม่มั่นใจ กลัวว่าตนเองจะ Swab ไม่ถูกต้อง
แต่การตรวจ ATK แบบน้ำลายยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการเตรียมตัวที่ต้องงดน้ำงดอาหาร ไปทำให้มีความยุ่งยากกว่าการตรวจแบบ Swab
การตรวจ ATK แบบน้ำลายได้ผลลัพธ์ค่อนข้างแม่นยำเหมือนการ Swab
แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงควรตรวจด้วย RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลที่แน่นอนเนื่องจากเป็นการตรวจที่ WHO รองรับว่าน่าเชื่อถือที่สุด