วัคซีนต้านโควิด19 เป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญในการป้องกันโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ต้องไปโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย อย.มีการอนุมัติให้ฉีดได้แล้วหลายกลุ่มอายุ
ล่าสุด น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
หนีไม่พ้น !! เด็กอายุ 12-17 ปี ต้องฉีดวัคซีนโควิดของ Pfizer กระตุ้นเข็มที่ 3
หลังจากที่วัคซีนของบริษัท Pfizer ได้รับการอนุมัติให้ฉีดในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปได้ ก็มีคำถามมาโดยตลอดว่า
ปริมาณวัคซีนที่ลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามคือ 10 ไมโครกรัมนั้น จะมีผลต่อประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้ออาการปานกลาง และการนอนโรงพยาบาลมากน้อยอย่างไร
ในเบื้องต้นมีการศึกษาพบว่าประสิทธิผลในช่วงของการวิจัย (Efficacy) ได้ผลดีคือ มากกว่า 90%
แต่สำหรับประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริง (Effectiveness) ยังมีข้อมูลที่จำกัด
จึงได้มีการศึกษา ติดตาม และเก็บตัวเลขสถิติต่างๆ จนมีรายงานเพิ่มขึ้นว่า
จากกรณีศึกษาของ VISION Network ร่วมกับ US-CDCในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางคือเข้ารับการรักษาฉุกเฉินจำนวน 39,217 ครั้ง
และที่มีอาการหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล 1699 รายในกลุ่มเด็กอายุ 5-17 ปี ในช่วง 9 เมษายน 2564 ถึง 29 มกราคม 2565 พบข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้
ในกรณีฉีดวัคซีน 2 เข็ม ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการปานกลาง
อายุ 5-11 ปี
อายุ 12-15 ปี
อายุ 16-17 ปี
และเมื่อฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นานกว่า 5 เดือน พบว่าประสิทธิผล
ในกลุ่มอายุ 12-15 ปี
กลุ่มอายุ 16-17 ปี
เมื่อมีการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3
ให้กับกลุ่มอายุ 16-17 ปี
ส่วนในกรณีประสิทธิผลต่อการป้องกันการนอนโรงพยาบาล
ในกรณีที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นานกว่า 5 เดือน
กลุ่มอายุ 12-15 ปี
กลุ่มอายุ 12-15 ปี
ประสิทธิผลลดลงเหลือ 73%
จึงพอสรุปได้ว่า
กล่าวคือเด็กอายุ 12-17 ปี มีความจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีน Pfizer กระตุ้นเข็มที่ 3 หลังจากที่ฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วนานกว่า 5 เดือน