จากกรณีที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผนและมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อประกาศให้ เชื้อโควิด เป็น โรคประจำถิ่น ของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้นั้น แผนดำเนินการดังกล่าวนี้จะประสบความสำเร็จเดินไปสู่เป้าหมายได้นั้น คนไทยทุกคนต่างมีส่วนร่วมร่วมกัน
เบื้องต้น ฐานเศรษฐกิจ พาไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า หลักเกณฑ์การประกาศให้โรคโควิดเป็นโรคประจำถิ่นได้นั้น ต้องสามารถควบคุมอัตราการเสียชีวิตของโรคเพื่อเข้าสู่ โรคประจำถิ่น ต้องไม่เกิน 1 ใน 1,000 คนหรือ 0.1% ซึ่งจากตัวเลขสถิติของไทยเรานั้นอยู่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ คือ อยู่ที่ 0.19-0.2% โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ดังนั้น จึงต้องลดอัตราการเสียชีวิตของคนกลุ่มนี้ให้ได้ครึ่งหนึ่ง หรือ ประมาณ 0.1%
สำหรับไทม์ไลน์ของแผนและการทำงานตามที่ คณะกรรมการโรคติดต่อฯ กำหนดไว้ในช่วง 4 เดือนตามกรอบระยะเวลานับจากนี้นั้นมีรายละเอียดเบื้องต้นซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะที่คนไทยทุกคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันทำ ดังนี้
ระยะที่ 1 คือ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม -ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเรียกว่า Combatting ระยะนี้เป็นระยะของการต่อสู้เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงของโรคลง โดยทางกระทรวงสาธารณสุข พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการ อาทิ
ระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ
ระยะที่ 3 ปลายเดือนพฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2565 เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2 พันราย
ระยะ 4 (บวก 1 ) คือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยแผนดำเนินการทั้งหมดจะต้องการให้เกิดภายใน 4 เดือน ซึ่งหากเป็นไปตามแผนมาตรการที่วางไว้ ตั้งแต่ในวันที่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป โควิดจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น
ดังนั้น ในช่วง 4 เดือนนี้จึงเป็นความท้าทายของเราทุกคนที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายนี้อย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อให้ประเทศไทยประกาศให้โรคโควิดเป็นโรคประจำถิ่นได้ในวันที่ 1 ก.ค.64