โควิดวันนี้รวมatk ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) โดยเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1148 คน เป็น 1,353 คน เพิ่มขึ้น 17.85%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 375 คน เป็น 453 คน เพิ่มขึ้น 20.8%โควิด-19 (Covid-19)
หมอธีระ ยังโพสต์ด้วยว่า
วันนี้มีคำถามจากหลายคนหลายแหล่ง
ทำให้ต้องลองนั่งประเมินโดยคร่าวเท่าที่มีข้อมูล
หากไม่ผลีผลามด้วยกิเลส...เราคงใช้เวลาราว 53 วัน นับจาก 10 มีนาคม จนถึง
baseline ซึ่งจะสูงกว่าระดับฐานของระลอกสาม นั่นคือราวต้นพฤษภาคม
ถามว่า baseline จะประมาณเท่าใด ยากที่จะประเมิน เพราะมี heterogeneity ของลักษณะประเทศต่างๆ ทั่วโลก
แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ หากปั่นกันด้วยกิเลสจนละเลยการป้องกันตัว และไม่มีนโยบายหรือมาตรการรณรงค์ให้ระมัดระวัง ก็จะปะทุรุนแรงขึ้นได้ในเวลาไม่นาน ดังที่เห็นในทวีปยุโรปตอนนี้
คาดว่าด้วยลักษณะนโยบายมาตรการที่เห็นแพลมออกมาตีฆ้องร้องป่าวว่าจะตีตราโควิดเป็นโรคประจำถิ่นในอีกไม่กี่เดือน
มีความเป็นไปได้ว่าระดับของ"จำนวนติดเชื้อใหม่ต่อวันรวม ATK" อาจอยู่ราว 18,120-20,708 คน ก่อนจะปะทุรุนแรงขึ้นตามที่เห็นในยุโรป
ทั้งนี้เราคงทราบกันดีว่าการตรวจ RT-PCR ของเราเป็นเช่นไร และ ATK นั้นรวบรวมข้อมูลดีเพียงไร ดังนั้นถ้าคาดเดาเลขกลมๆ เฉพาะจำนวนที่ตรวจยืนยัน อาจราว 9,000-10,000 คน ที่น่าจะมีโอกาสปะทุขึ้นตามยุโรปได้ ถ้าไม่ป้องกันให้ดี
ช่วงเวลา...คงต้องจับตาดูราวสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเมษายน
สิ่งที่เราทำได้คือ ช่วงวันหยุดเทศกาล รวมถึงช่วงวันสงกรานต์ ควรมีความเคร่งครัด ป้องกันตัวให้ดี เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงในการปะทุ
ด้วยความรู้ทางการแพทย์เรื่อง Long COVID จนถึงตอนนี้ บอกด้วยความหวังดีว่า "ไม่ติดย่อมดีที่สุด"
เพราะผลกระทบระยะยาวนั้นไม่น่าพิสมัยเอาเสียเลย
จะเป็นเช่นไร...คงต้องช่วยกันติดตามดู