ม33 ติดโควิดได้เงินไหม ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้างอ่านที่นี่มีคำตอบ

15 มี.ค. 2565 | 20:11 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มี.ค. 2565 | 22:10 น.

ม33 ติดโควิดได้เงินไหม ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้างอ่านที่นี่มีคำตอบ หลังรักษาตัวหายแล้วสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ได้กี่บาท

ม33 ติดโควิดได้เงินไหม เป็นคำถามที่ถูกเอ่ยถึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เป้นจำนวนมากในแต่ละวัน 

 

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูล เพื่อไขคำตอบประเด็นดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ติดโควิด เบิกประกันสังคมได้หรือไม่?

 

ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด หลังจากรักษาตัวหายแล้ว 

 

สามารถยื่นขอรับ “เงินทดแทนการขาดรายได้” จากสำนักงานประกันสังคมได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

 

ผู้ประกันตน มาตรา 33

 

กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง และหากหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย 

 

โดยจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน 

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่รับบริการทางการแพทย์

 

ผู้ประกันตน มาตรา 39

 

รับเงินทดแทนขาดรายได้ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบที่ 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน 

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่รับบริการทางการแพทย์

 

ม33 ติดโควิดได้เงินไหม ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

ผู้ประกันตน มาตรา 40

 

รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยต้องนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

 

ขั้นตอนการยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนทุกมาตราสามารถดาวน์โหลดเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมแนบเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้ ซึ่งได้แก่

 

  • ใบรับรองแพทย์
  • หนังสือรับรองจากนายจ้าง
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สถิติวันลาป่วยติดโควิดของผู้ยื่นคำขอ
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
  • สำเนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรก
  • หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วให้ส่งไปรษณีย์ไปที่สำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตนต้องยื่นรับผลประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปีเท่านั้น

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน