17 มีนาคม 2565 ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือปานกลางเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ระบุที่มาของโครงการว่า ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งเอ็นไซม์ RNA-dependent RNA polymerase ซึ่งสามารถยับยั้งไวรัสโควิด-19 ในหลอดทดลองได้ จากประสบการณ์ใช้ยาและเก็บผลการรักษาย้อนหลังพบว่า ได้ผลการรักษาในผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี แต่ ประโยชน์ในการลดการเสียชีวิตหรือป่วยหนักยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ยังไม่มี การวิจัยแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าเทียบกับการไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อดูประโยชน์ของการใช้ยาในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง
สำหรับวิธีวิจัย ได้ทำการศึกษา (Confirmatory Study) ระยะที่ 3 แบบเปิดและมีการสุ่ม (Randomized Controlled Trials) ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่หนักและยังไม่มีภาวะปอดอักเสบ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ วันละ 2 ครั้ง ขนาด 1,800 มก./dose ในวัน แรก และ 800 มก./dose ในวันต่อมา (62 ราย) และกลุ่มควบคุม (31 ราย) โดยประเมินผลการรักษาจาก NEWS ซึ่งเป็นการประเมินอาการ ตามมาตรฐานสากล โดยดูจากอุณหภูมิ อัตราการหายใจ การเต้นของ หัวใจ ความดันโลหิต ภาวะออกซิเจนในร่างกาย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในโครงการเริ่มยาเฉลี่ยที่ 1.7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการเมื่อประเมินอาการโดย NEWS ในช่วงเวลาการรักษา 14 วันพบว่า
กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้น 79% ขณะที่กลุ่ม ควบคุมมีแค่ 32.3% กลุ่มฟาวิพิราเวียร์อาการดีขึ้นเร็วกว่าอย่างมีนัยสําคัญ โดยครึ่งหนึ่ง ของผู้ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 ของการ รักษา เมื่อเทียบกับ 14 วันในกลุ่มควบคุม
จํานวนไวรัสในผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ลดลงไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม จนกระทั่งวันที่ 13 และ 28 ของการรักษา ซึ่งจะพบว่า กลุ่มที่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์จะมีปริมาณไวรัสต่ำกว่า
ผลข้างเคียง พบการขึ้นของระดับกรดยูริคในผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์อย่างมีนัยสําคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม ไม่พบอาการ ข้างเคียงอื่นที่แตกต่างกัน
ข้อสรุปและคําแนะนํา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสก่อโรคโควิด-19