เอกสารรับเงินขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 33
- แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
- สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
- หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน)และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออี
- สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและและเลขที่บัญชี ไม่มีค่าธรรมเนียม
เงินขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 39
- มีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง
- มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษา
สิทธิที่จะได้รับ ผู้ประกันตนมาตรา 39
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
เอกสารรับเงินขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 39
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
- สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ไม่มีค่าธรรมเนียม
เงินขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 40
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 4 เดือนย้อนหลัง
- มีการส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
เอกสารรับเงินขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 40
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)