วัคซีนต้านโควิด19 มีการปรับสูตรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามการศึกษาเพิ่มเติม และปัจจัยของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ในช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะการฉีดเข็มกระตุ้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมและมีคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ดังนี้
อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้มีการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนจากการใช้จริงระยะที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในพื้นที่เชียงใหม่ โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 และคณะทำงานด้านวิชาการ ดำเนินการเก็บข้อมูลช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า
นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน ระบุว่า การฉีดวัคซีน 2 เข็ม ไม่ช่วยเรื่องป้องกันการติดเชื้อและประสิทธิภาพป้องกันการเสียชีวิตน้อยลง จึงจำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 3 ซึ่งนอกจากป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ยังลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ด้วย เป็นการลดโอกาสติดเชื้อตั้งแต่ต้น ก็จะไม่ไปถึงการเสียชีวิตได้
ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าใกล้ 80% ฉีดเข็มสองตามมาเกิน 72% แล้ว แต่ฉีดเข็มสามได้ประมาณ 33%
ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 มีนาคม 2565 จำนวน 2,464 ราย อายุเฉลี่ย 73 ปี อายุน้อยสุด 3 เดือน อายุมากสุด 107 ปี
มีหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีโรคประจำตัว 2,135 ราย มากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง ตามด้วย เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคอ้วน
และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยพบว่า 57% ไม่ได้ฉีดวัคซีน อีก 31% ฉีด 2 เข็มเกินกว่า 3 เดือน