วัคซีนต้านโควิด19 เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)
นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน เปิดเผยว่า จากการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนจากการใช้จริงระยะที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนในพื้นที่เชียงใหม่ โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 และคณะทำงานด้านวิชาการ ดำเนินการเก็บข้อมูลช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า
ส่วนการป้องกันการเสียชีวิต
“จะเห็นได้ว่า การฉีดวัคซีน 2 เข็ม ไม่ช่วยเรื่องป้องกันการติดเชื้อและประสิทธิภาพป้องกันการเสียชีวิตน้อยลง จึงจำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 3 ซึ่งนอกจากป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ยังลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ด้วย เป็นการลดโอกาสติดเชื้อตั้งแต่ต้น ก็จะไม่ไปถึงการเสียชีวิตได้”
นพ.วิชาญ กล่าวว่า ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้ประชุมและมีคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ดังนี้
ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าใกล้ 80% ฉีดเข็มสองตามมาเกิน 72% แล้ว แต่ฉีดเข็มสามได้ประมาณ 33%
ซึ่งข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 มีนาคม 2565 จำนวน 2,464 ราย อายุเฉลี่ย 73 ปี อายุน้อยสุด 3 เดือน อายุมากสุด 107 ปี
มีหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีโรคประจำตัว 2,135 ราย มากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง ตามด้วย เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคอ้วน
และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยพบว่า 57% ไม่ได้ฉีดวัคซีน อีก 31% ฉีด 2 เข็มเกินกว่า 3 เดือน
อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเร่งรัดฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมรับเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสี่ยงติดเชื้อและเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบ หรือไม่ได้รับเข็มกระตุ้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้น ขณะนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เร่งรัดค้นหาผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและที่ยังตกหล่น
โดยตั้งเป้าฉีดวัคซีนผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นให้ได้อย่างน้อย 70% ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งได้เตรียมวัคซีนไว้ถึง 3 ล้านโดส และจัดบริการฉีดวัคซีนทั้งในสถานบริการและฉีดเชิงรุกในพื้นที่ พร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน สภาอุตสาหกรรม และภาคเอกชน เพื่อค้นหาและให้บริการฉีดวัคซีนประชาชน สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงจัดงานรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับรู้ในวงกว้าง