กว่า 11 ล้านคนทั่วโลก 'ลาออก'จากงาน แนะนายจ้าง ปรับ 3 มุมมองใหม่!

24 มี.ค. 2565 | 08:48 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มี.ค. 2565 | 15:54 น.

ตลาดแรงงานทั่วโลกท้าทาย FutureTales Lab - จุฬาฯ เผย 3 มุมมองใหม่อนาคตข องการทำงาน หลังโควิด ทำให้กว่า 11 ล้านคนลาออกจากงาน ขณะการประชุมออนไลน์ กดดัน เครียด ส่งผลพนักงานหมดไฟ 91%

24 มีนาคม 2565 – ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์แล็บ เผย 3 มิติสำคัญที่จะทำให้การทำงานในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โดย นางสาววิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคต ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) เปิดเผยว่า ได้วิเคราะห์และคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตการทำงาน (Future of Work) ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลต่อวิถีการทำงานของคนรุ่นใหม่ โดยจัดเวิร์คชอปเพื่อเข้าใจข้อมูลเชิงลึกร่วมกับคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งที่จะเปลี่ยนไป 3 ด้าน  ประกอบด้วย 

  • แรงงาน (Workforce) 
  • พื้นที่ทำงาน (Workspace) 
  • องค์กร (Organization)
     

แรงงาน (Workforce) 

ในยุคปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง Workforce 3.0 แรงงานมีความต้องการเป็นเจ้าของกิจการ และ Workforce 4.0 แรงงานเลือกทำงานหลากหลายและทำงานได้จากทุกที่ ในอนาคตจากการ พัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ส่งผลให้แรงงานเข้าสู่ Workforce 5.0 จากการมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้อายุเกษียณยืดออกไปได้ตามความสามารถของแรงงาน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และความยืดหยุ่นและความคิดแบบเติบโต (Resilience & Growth mindset) ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้แรงงานยังปรับตัวได้ทัน เพื่อป้องกันการอยู่ในสถานะไม่สามารถถูกจ้างงานได้ (Unemployable) ซึ่งน่ากลัวยิ่งกว่าการตกงาน (Unemployed)

กว่า 11 ล้านคนทั่วโลก \'ลาออก\'จากงาน แนะนายจ้าง ปรับ 3 มุมมองใหม่!

พื้นที่ทำงาน (Workspace) 

ในยุคปัจจุบันมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างยุคการทำงานที่เป็นห้องสี่เหลี่ยม (Cubicle Nation) แบ่งแยกสัดส่วนชัดเจน และยุคพื้นที่ทำงานที่เปิดโล่ง (Co–Working Space) มีอิสระในพื้นที่ทำงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดไอเดียใหม่จากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ในอนาคตจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะโลกเสมือน (Metaverse) ส่งผลให้สถานที่ทำงานเข้าสู่ยุคพื้นที่ทำงานที่เชื่อมโยง ไร้รอยต่อระหว่างพื้นที่ทำงานจริงและพื้นที่โลกเสมือน (Virtual Workspace) ทำให้อุปสรรคในด้านพื้นที่การทำงานหมดไป เกิดพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ที่เอื้อต่อการทำงาน การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ได้ทุกสถานที่ เวลา องค์กรส่วนใหญ่จะปรับตัวสำหรับโลกการทำงานและการบริหารงานใน Metaverse มากขึ้น

กว่า 11 ล้านคนทั่วโลก \'ลาออก\'จากงาน แนะนายจ้าง ปรับ 3 มุมมองใหม่!

องค์กร (Organization) 

ในยุคปัจจุบันอยู่ระหว่างยุค Organization 3.0 (ยุค Machine) องค์กรมีเป้าหมายมุ่งเน้นความสำเร็จ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และยุค Organization 4.0 (ยุค Family) ไม่เน้นโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน แต่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร และการเพิ่มอำนาจให้แก่พนักงาน เมื่อเข้าสู่ในยุคOrganization   5.0 (ยุค Living System) คือ องค์กรขนาดใหญ่จะถูกลดขนาดลงให้มีความคล่องตัว เน้นการกระจายอำนาจ ยืดหยุ่น และเปิดโอกาส ให้พนักงานสามารถบริการจัดการด้วยตัวเอง โดยองค์กรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประเด็นความหลากหลาย (Diversity) และการมีส่วนร่วม (Inclusion) เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น

กว่า 11 ล้านคนทั่วโลก \'ลาออก\'จากงาน แนะนายจ้าง ปรับ 3 มุมมองใหม่!

กลุ่มคนทำงานคนรุ่นใหม่ แสวงหารายได้ที่เท่าเทียม

ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อประเด็นทางสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องความเท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างของรายได้ที่มีแนวโน้มกว้างมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในมิติของรูปแบบและพื้นที่ทำงาน จากกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาได้แสดงความคิดว่า ความเท่าเทียมเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ต่อการรับรู้ถึงความยุติธรรมในที่ทำงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของพนักงานในอนาคตตามมา

 

องค์กรต้องคำนึงถึงการบริหารนโยบาย Diversity & Inclusion (D&I) ที่ไม่ครอบคลุมเพียงแค่ความแตกต่างในเรื่องเพศหรืออายุเท่านั้น แต่ยังต้องมองไปถึงความหลากหลายในเรื่องของความสามารถ วิธีคิด ค่านิยม และความเชื่อ สภาพแวดล้อมการทำงานควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นตัวของตนเองอย่างแท้จริง (Authentic Self) สนับสนุนบุคลากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม Inclusive environments จะช่วยให้พนักงานรุ่นใหม่รับรู้ถึงพลังอำนาจ และต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของการทำงานได้อย่างเต็มที่

 

“ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งปัญหาโรคระบาดและผลกระทบจากสงครามที่เกิดขึ้น ส่งผลองค์กรต้องปรับตัวให้พร้อมรับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ในช่วงที่เกิดภาวะการลาออกระลอกใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก (Great Resignation) พบว่าในปีที่ผ่านมา กว่า 11.5 ล้านคนลาออกจากงาน และอีก 48% ของพนักงานมีแนวโน้มจะลาออก จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และการประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ มากขึ้นถึง 200% ส่งผลให้พนักงานเกิดภาวะ “หมดไฟ” โดยจากสถิติพบว่ากว่า 77% ของแรงงานมีประสบการณ์หมดไฟ 91% กล่าวว่าความเครียดที่ไม่สามารถจัดการได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพงาน 83% กล่าวว่าความเหนื่อยหน่ายอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว และ41% ของพนักงานทั่วโลกพิจารณาที่ลาออก " 

 

" สิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ท้าทายมากในการดึงศักยภาพพนักงานและพยายามเก็บรักษากำลังสำคัญภายใต้คำนึงถึงสุขภาวะที่ดีของแรงงาน (Employee well-being) โดยปัจจุบันพบว่า 60% ขององค์กรทั่วโลกมีโครงการริเริ่มด้านสุขภาพภายในองค์กร และ 78% ของนายจ้างมองว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นส่วนสำคัญของแผนธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้” นางสาววิพัตรา กล่าวสรุป

 

ที่มา : FutureTales Lab by MQDC