ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 อัพเดทแต่ละมาตราเหลือจ่ายเดือนละกี่บาท

24 มี.ค. 2565 | 18:00 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มี.ค. 2565 | 13:32 น.

เช็คที่นี่ ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 แต่ละมาตราเหลือจ่ายเดือนละกี่เท่าไร เริ่มวันไหน อ่านรายละเอียดได้ครบที่นี่  

ข่าวดี สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มีรายงานล่าสุดระบุว่า ในการแถลงมาตรการลดภาระค่าครองชีพของผู้ประกันและอุดหนุนนายจ้างช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนของกระทรวงแรงงานวันนี้ 24 มี.ค.65 โดยในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันมาตรา 33 (ม.33) และผู้ประกันตนมาตรา 39 (ม.39) นั้น มีมาตรการลดอัตราเงินสมทบลงเช่นเดียวกับผู้ประกันตน ม.40 โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับมาตราเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 ดังต่อไปนี้

1.นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33

ลดอัตราเงินสมทบ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนม.33

  • จากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

ระยะเวลา : 

  • งวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 วงเงิน 33,857 ล้านบาทจากกองทุนประกันสังคม

ลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 11,190,109 ราย

-หากคิดจากฐานเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน ลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน เป็นเงินต่อเดือน 600 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือนเป็นเงิน 1,800 บาท

ลดต้นทุนการผลิตของนายจ้าง จำนวน 486,354 ราย เป็นเงินต่อลูกจ้างหนึ่งรายต่อเดือน 600 คน

-หากคิดจากฐานเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน หากนายจ้างมีลูกจ้าง 1,000 คน ลดต้นทุนการผลิตของนายจ้างต่อเดือน 600,000 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือนเป็นเงิน 1,800,000 บาท

2.ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39

ลดอัตรเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จากเดิมร้อยละ 9 ของฐานค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละ 432 บาท) เหลือร้อยละ 1.90 ของค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละ 91 บาท)

ระยะเวลา :

งวดค่าจ้างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 วงเงินที่คาดว่า จะต้องใช้ 33,857 ล้านบาท แหล่งเงิน กองทุนประกันสังคม

โดยจะลดภาระค่าครองชีพ ผู้ประกันตน มาตรา 39 จำนวน 1,925,572 ราย เป็นเงินต่อเดือน 341 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน เป็นเงิน 1,023 บาท 

ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องรักษาสิทธิประกันสังคม 6 กรณี ได้แก่

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • สงเคราะห์บุตร
  • ชราภาพ