April Fool’s Day แปลเป็นภาษาไทยว่า "วันเมษาหน้าโง่" มีขึ้นในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี หรือวันแห่งการโกหก บางประเทศเป็นวันหยุดราชการเพราะตรงกับวันเทศกาลดั้งเดิมในท้องถิ่น
การโกหกในอดีตไม่ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะมีขอบเขตในการเล่นแกล้งกัน แต่ปัจจุบันนี้ถ้าจะเล่นต้องระวัง ถ้าเอาข้อมูลเท็จขึ้นโซเชียล จะอยู่ในอำนาจกฎหมาย พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
April Fool’s Day มีที่มายังไง
- เริ่มเป็นตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 19 ในดินแดนแถบแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล กรีก ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา
- เป็นการละเล่นที่นิยมกันของบางประเทศแถบยุโรป คาดว่ามาจากชาวกรีก โรมัน และยังนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
- มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในตำนาน Nun’s Priest’s Tale ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1564 เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในวันครบรอบงานหมั้นระหว่างพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ กับเจ้าหญิงแอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ เกี่ยวกับสุนัขจิ้งจอกที่ตบตาไก่ตัวผู้ที่หลงตัวเอง
- ในยุคกลางการเฉลิมฉลองของชาวยุโรปส่วนมากนี้จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี บางแห่งสิ้นสุดในวันที่ 1 เมษายน
- มีการอ้างถึง April Fool’s Day ในงานเขียนของกวี ปี ค.ศ. 1563 เกี่ยวกับการส่งคนรับใช้ไปทำภารกิจที่โง่เขลาในวันที่ 1 เมษายน จากบทกวีแสดงให้เห็นว่าการเล่นเอพริลฟูลส์เดย์เป็นที่นิยมในชาวบริเตนใหญ่
- เนเธอร์แลนด์มีที่มาของ April Fool’s Day แตกต่างไป มีบันทึกไว้เมื่อปี ค.ศ. 1572 เกี่ยวกับชัยชนะของชาวดัตช์ในการยึดเมืองแห่งหนึ่ง เกิดเป็นสุภาษิตว่า Op 1 april verloor Alva zijn bril แปลว่า ในวันที่ 1 เมษายน Alva ทำแว่นตาหาย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยึดเมืองบรีเอลล์ ซึ่งดยุคอัลวาเรซ เด โตเลโด (Álvarez de Toledo) ของสเปนพ่ายแพ้
-
April Fool's Day ยังเกี่ยวพันกับทฤษฎี "วันปีใหม่" ของชาวยุโรปยุคกลางในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่แต่เดิมคือวันที่ 1 เมษายน ต่อมาในปี ค.ศ. 1592 พระสันตปาปาเกรเกอรี่ได้ประกาศใช้ปฏิทินใหม่สำหรับชาวคริสต์ ทำให้วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นวันที่ 1 มกราคม
-
ด้วยปัญหาเรื่องการสื่อสารทำให้มีกลุ่มคนไม่น้อยไม่ทราบประกาศ และออกมาฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ทำเอาถูกล้อเลียนว่า "พวกเมษาหน้าโง่" ตามด้วยการพยายามกลั่นแกล้งโดยส่งข้อความไปหลอก หรือล่อลวงให้หลงเชื่อเรื่องโกหกทั้งหลายว่าเป็นเรื่องจริง