"กรมอุตุนิยมวิทยา"ชี้แจงข่าวลือ กรณีสาเหตุ ที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง อากาศแปรปรวน หนาวเย็น - ฝนตก หรืออากาศหนาวเย็น ช่วงฤดูร้อน เดือนเมษายน 2565 เป็นผลพวงจาก "ปรากฏการณ์ Polar Vortex"ทำให้เย็นวูบวาบ กระแสลมโลกเบี่ยงทิศ ผลพ่วงปัญหาโลกร้อนที่ต้องเร่งแก้ไข"
ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข้อความและภาพ "สาเหตุ ที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง อากาศแปรปรวน หนาวเย็น - ฝนดก หรืออากาศหนาวเย็น ช่วงฤดูร้อน เดือน เมษายน2565 ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ว่า เป็นผลจาก"ปรากฏการณ์ Polar Vortex" ทำให้เย็นวูบวาบ กระแสลมโลกเบี่ยงทิศ ผลพวงปัญหาโลกร้อนที่ต้องเร่งแก้ไข" นั้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ขอเรียนชี้แจงว่า ความแปรปรวนของสภาพอากาศในช่วงวันที่1-3 เมษายน 2565 เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน
(กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูร้อน วันที่ 2 มีนาคม 2565) ซึ่งโดยทั่วไป อุณหภูมิบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางวันอากาศร้อนถึงร้อนจัดในบางวัน และมักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ส่วนความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่เคยปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในช่วงฤดูหนาวจะอ่อนกำลังลง และถอยกลับไปปกคลุมบริเวณประเทศจีน แต่ยังมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นดังกล่าว แผ่ลงมาปกคลุมได้เป็นระยะๆ ขึ้นอยู่กับความแรงของมวลอากาศ
หากมวลอากาศเย็นตังกล่าว มีกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคใต้ตอนบน มักจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง และมีลมแรง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูร้อน แต่จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ 2-3 วันเท่านั้น
ส่วนปรากฏการณ์ Polar Vortex ที่อ้างถึงดังกล่าว มักจะไม่มีผลกระทบถึงประเทศไทยเพราะกระแสลมวนที่ไหลเวียนจากทางด้านตะวันตกไปตะวันออก จะมีเทือกเขาสูงกรีดชวางเป็นอุปสรรคคือเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูง ทำให้ทิศทางสมของกระแสลมวนที่ไหลเวียนลงมาเปลี่ยนทิศทางไปโอกาสที่นำความหนาวเย็นจากขั้วโลก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก
ดังนั้นอุณหภูมิที่ลดลงในระยะนี้ จึงไมได้มาจากอิทธิพลของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ดังกล่าวแต่อย่างใด
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่ม สามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา (คลิ๊กที่นี่)