6 เมษายน 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ แบ่งเป็น ATK จำนวน 6,746 ราย และ RT-PCR จำนวน 1,274 ราย สำหรับผู้ติดเชื้อยืนยัน RT-PCR ประกอบด้วย
1.คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 71 ราย สะสม 5,188 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,509 ราย
2.CLUSTER บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 4 ราย สะสม 11 ราย
3.CLUSTER บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด อ.เมืองชลบุรี 3 ราย สะสม 119 ราย
4.อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 51 ราย
5.บุคลากรทางการแพทย์ 31 ราย
6.ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 7 ราย ดังนี้
6.1 กทม. 1 ราย
6.2 จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ราย
6.3 จังหวัดชุมพร 1 ราย
6.4 จังหวัดตราด 1 ราย
6.5 จังหวัดนครสวรรค์ 1 ราย
6.6 จังหวัดบึงกาฬ 1 ราย
6.7 จังหวัดสมุทรปราการ 1 ราย
7.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
7.1 ในครอบครัว 235 ราย
7.2 จากสถานที่ทำงาน 78 ราย
7.3 บุคคลใกล้ชิด 63 ราย
7.4 ร่วมวงสังสรรค์ 4 ราย
8.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 31 ราย
9.อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 696 ราย
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 960,086 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วติดเชื้อ 2,474 คน (อัตราป่วย 257.69 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 2 ราย (0.21 ต่อแสนประชากร) ใส่ท่อหายใจ 2 ราย (0.21 ต่อแสนประชากร) ปอดอักเสบ 8 ราย (0.83 ต่อแสนประชากร)
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,909,617 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 2,054 คน (อัตราป่วย 107.56 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 6 ราย (0.31 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 6 ราย (0.31 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 4 ราย (0.21 ต่อแสนประชากร)
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม มีจำนวน 143,488 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 275,968 คน รวม 419,456 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 3,429 คน (อัตราป่วย 817.49 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 12 ราย (2.86 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 8 ราย (1.91 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 9 ราย (2.15 ต่อแสนประชากร)
สำหรับวันนี้พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 5 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2565, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2564, รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2565 อีกสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน)
ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 5 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2565, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564, รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2564, รายที่สี่พบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 และรายที่ห้าไม่พบประวัติการรับวัคซีน)
ส่วนผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 ราย (รายที่หนึ่งอายุ 41 ปี, รายที่สองอายุ 50 ปี) (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564)
ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น