วิธีสังเกตว่าโควิดลงปอดหรือยัง
- มีอาการไข้มากกว่า 5 องศาเซลเซียส
- ไอ ทั้งไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ
- หายใจลำบาก
- รู้สึกเหนื่อย หรือหอบ
- เหนื่อยง่ายขึ้น
- รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด
- แน่นหน้าอก
- ค่าออกซิเจนต่ำอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น จะเป็นสัญญาณว่าเชื้อโควิดลงปอด
ทดสอบอาการเหนื่อย ว่าโควิดลงปอดแล้วหรือยัง
- เดินไปมา ลุกยืน 3 ให้สงสัยว่าโควิดลงปอดรั้ง
- กลั้นหายใจ 10-15 วินาที หากทำแล้วเหนื่อย และวัดออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94
ทดสอบด้วยวิธี Sit-to-Stand Test
- เก้าอี้ที่แข็งแรงมีพนักพิงหลัง แต่ไม่มีที่เท้าแขน ความสูงจากที่นั่งถึงพื้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร
- เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด สำหรับหนีบปลายนิ้ว หรือแบบนาฬิกา เพื่อวัดออกซิเจน
- ยืนเท้าเอวทั้ง 2 ข้าง สวมเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้มขณะทำการทดสอบ
- นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้นแล้วลุกขึ้นยืนตรงทันทีโดยไม่ใช้มือดันหรือจับเก้าอี้ แล้วกลับไปนั่งให้เต็มก้นอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ใน 1 นาที (ควรทำได้ 20-30 ครั้ง ใน 1 นาที)
- เมื่อครบ 1 นาที ถ้ารู้สึกเหนื่อย หรือ HR>120 ครั้งต่อนาที หรือค่าออกซิเจนลดลงกว่าเดิม 3% ขึ้นไป หายใจเหนื่อย หอบมาก พูดเป็นคำไม่ได้ แสดงว่าปอดมีปัญหา
- หากขณะลุกนั่งเกิดอาการเหนื่อยมาก หรือเกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรหยุดทำทันที
- ผู้ที่ไม่ควรทดสอบวิธีนี้ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทรงตัวไม่ดี ผู้ที่มีไข้สูง ผู้ที่มีชีพจรช้าหรือเร็วผิดปกติ ผู้ที่มีสัญญาณชีพไม่คงที่ หรือผู้ที่มี่ความดันโลหิตสูงหรือต่ำจนเกินไป
การปฎิบัติตัวหากโควิดลงปอด
- จัดท่านอนให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น
- กอดหมอน นอนคว่ำ เนื่องจากว่าหากนอนหงายปอด 2 ใน 3 อยู่ทางด้านหลัง ทำให้น้ำหนักตัวกับน้ำหนักของหัวใจไปกดบริเวณปอด ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
- ให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก แล้วนอนคว่ำ โดยให้หน้าตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง
- ถ้านอนคว่ำไม่ได้ นอนตะแคง กึ่งคว่ำ หรือเฉียงตัวประมาณ 45 องศา
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ แนะนำให้นอนโดยตะแคงด้านซ้ายลง และเฉียงตัวประมาณ 45 องศา เพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น
- ขยับขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น งอเข่าเข้าออก หรือเหยียดปลายเท้าแล้วดึงเข้าหาตัว ให้เกิดการเคลื่อนไหวบริเวณกล้ามเนื้อส่วนน่องและส่วนขา ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- วิธีเข้าห้องน้ำ สำหรับผู้ที่โควิดลงปอด แต่ยังรอเตียงอยู่ที่บ้าน ถ้าเหนื่อยมาก อย่าเข้าห้องน้ำ การเบ่งถ่ายอาจทำให้หมดสติได้
- เตรียมที่สำหรับถ่ายไว้ข้างเตียง เช่น กระโถน
- หากท้องผูก ให้ทานยาระบายอ่อน ๆ
- ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่อย่าทานน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจาง
- ถ้าทานอาหารไม่ได้ควรดื่มน้ำเกลือแร่
- หากมียาที่ต้องทานประจำ แนะนำให้ทานยาให้ต่อเนื่อง
- สำหรับยาที่อาจจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ หรือควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการปรับหรือหยุดยา ประกอบไปด้วย ยาขับปัสสาวะ หากป่วยโควิด ดื่มน้ำไม่ได้ ควรงดยาในกลุ่มนี้ หรือลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย ยาลดความดันโลหิตสูง ให้วัดค่าความดันทุกวัน หากต่ำว่า 90/60 ควรงดยา เพื่อป้องกันอาการช็อค หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
- สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดความดัน หากไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำได้ แนะนำให้งดยาความดันโลหิตสูงก่อน แต่หากทานยาความดันโลหิตสูงอยู่หลายตัวควรงดแค่ 1 ตัว ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนงดยา
- ยาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโควิด ควรวัดค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ หากวัดค่าน้ำตาลได้ต่ำ และไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำได้ ควรงดอินซูลิน
- ถ้ามีไข้ ให้ทานยาพาราเซตตามอลเท่านั้น
- สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ทานในปริมาณที่แพทย์แผนไทยกำหนด
ข้อมูลอ้างอิง : โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม